รายการถ่ายทอดสด



เทปบันทึกรายการ : ผ่านทาง YouTube

ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร แม่น้ำยมแห้งเขื่อนยางเก็บน้ำไม่ได้


พิจิตรแม่น้ำยมแห้งต่อเนื่อง ขณะที่เขื่อนยางในพื้นที่แม่น้ำยมยังไม่สามารถพองตัวยางเก็บกักน้ำได้ เนื่องจากตัวเขื่อนยางชำรุดเป็นเวลานาน ส่วนหนึ่งสาเหตุ ที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ทำให้แม่น้ำยมแห้งเร็วกว่าปกติ   ขณะที่ชาวนา ลงทุนกว่า 50,000 บาท เจาะบ่อบาดาลแลกน้ำ
วันที่ 11 มกราคม 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตร ว่า” สถานการณ์น้ำในแม่น้ำยม ที่ไหลพื้นที่จังหวัดพิจิตรในพื้นที่ 4 อำเภอ คือ สามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และ อำเภอโพทะเล  ซึ่งมีระดับน้ำในแม่น้ำยมลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยที่บริเวณเขื่อนยางบ้านจระเข้ผอม ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หลังจากที่ฝายยางดังกล่าวยังไม่สามารถที่จะพองตัวยางขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำได้  เนื่องจากตัวเขื่อนยางซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการกักเก็บน้ำเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่สามารถพองตัวเก็บน้ำได้ จึงเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ไม่สามารถเก็บกักน้ำในแม่น้ำยมได้ จึงทำให้แห้งเร็วกว่าทุกปี   ถึงแม้ชาวบ้าน  จะนำกระสอบทรายมากั้นบนสันเขื่อน แต่ยังไม่สามารถเก็บน้ำได้  จนทำให้ปริมาณน้ำหน้าเขื่อนยางไหลลง สู่แม่น้ำยม ด้านล่าง  จนทำให้พื้นที่ทางตอนบน โดยเฉพาะอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ หน้าแล้งได้ ส่งผลให้แห้งตลอดแม่น้ำยม   
โดยเขื่อนยางบ้านจระเข้ผอม ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2554  งบประมาณในการก่อสร้างจำนวน 287 ล้านบาท ขนาดความสูงของตัวฝายยาง 2.50 เมตร ความยาว 74 เมตร วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเพื่อใช้เก็บกับสำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนาที่มีจำนวนมาก รวมไปถึงรักษาระบบนิเวศน์ เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีระบบเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เหมือนกับแม่น้ำสายอื่นๆ แต่ที่ผ่านมาประสบปัญหาตัวฝายยางชำรุดเสียหายจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่    เนื่องจากการฉีกขาดของตัวฝายยางที่เกิดจากกิ่งไม้และสิ่งของที่ลอยมากับน้ำชนกับตัวฝายยางจนเกิดการเสียหายจนเป็นปัญหาในการเก็บกักน้ำที่ไม่สามารถทำได้เต็มประสิทธิภาพ
ขณะที่ ชาวนาในพื้นที่ ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ชาวนาต้องลงทุนว่าจ้างในการเจาะบ่อบาดาลที่บริเวณนาข้าวเพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาเลี้ยงต้นข้าว หลังประสบปัญหาภัยแล้งแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งจนหมด ชาวนาต้องดิ้นรนหาแหล่งน้ำด้วยการลงทุนว่าจ้างผู้รับเหมา เป็นเงิน กว่า หมื่นบาท ทำการเจาะบ่อบาดาล ความลึกลงไปในใต้ดิน 60 เมตร เพื่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาเป็นน้ำต้นทุนหลังจากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงต่อเนื่อง จนไม่สามารถหาแหล่งน้ำอื่นได้   ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่สูง แต่ชาวนาก็จำเป็นต้องทำ เพื่อหาน้ำใต้ดินขึ้นมาล่อเลี้ยงต้นข้าวที่อายุได้เพียง1เดือน เพื่อรอดพ้นจากภัยแล้ง ส่งผลกระทบ ต้นข้าวที่ลงทุนปลูกไว้ประสบปัญหาขาดน้ำ  ชาวนาจึงต้องลงทุนเจอะบ่อบาดาลซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการทำนา เพื่อแลกกับน้ำมาล่อเลี้ยงต้นข้าว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น