ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พบ เห็ดหายาก หลังจากที่ไม่เคยขึ้นมากว่า 30 ปี
พบเห็ดหายาก มีลักษณะสวยงามเป็นตาข่ายสีขาว ชาวบ้านเรียก "เห็ดร่างแห" ส่วนใหญ่จะพบเห็นในป่าดิบชื้นชาวบ้านบอกไม่เคยเห็นเห็ดชนิดนี้ในพื้นที่กว่า 30 ปี แล้ว
ชาวบ้านวังหวาย หมู่ที่ 10 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร นั่งดูและถ่ายภาพเห็ดที่เกิดขึ้นบริเวณใกล้กับโรงเห็ดนางฟ้าภูฐานด้วยความประหลาดใจ เนื่องจากเห็ดที่ออกดอกมามีลักษณะที่แปลกตา มีตาข่ายสีขาว คล้ายฟองน้ำห่อหุ้มอยู่กับดอก ลักษณะสวยงาม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เห็ดดังกล่าว เป็นเห็ดที่ชาวบ้านหลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน จึงมีการมุงดูด้วยความสนใจและถ่ายภาพเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก
จากคำบอกเล่าของ นายประจวบ ฉิมช้าง อายุ 73 ปี กล่าวว่า "เห็ดดังกล่าว เป็นเห็ดที่คนโบราณเรียกว่า"เห็ดร่างแห" ปกติจะเกิดขึ้นในป่าดิบชื้น เมื่อก่อนในอดีตที่บริเวณนี้เป็นป่าสมบูรณ์ ก็ยังเคยมีเห็ดดังกล่าวเกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่จากประสบการณ์ของตนไม่เคยพบว่ามีเห็ดร่างแหเกิดขึ้นในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงนานกว่า 30 ปี แล้ว การที่เห็ดร่างแหกลับมาออกดอกให้เห็นอีกครั้งจึงเป็นเรื่องแปลก"
สำหรับเห็ดร่างแห เป็นเห็ดที่เกิดขึ้นในป่าชื้น มักเกิดในที่ซึ่งมีการทับถมของซากพืชและซากสัตว์จำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น ส่วนใหญ่จะมีแมลงวันตอม ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่ารับประทานไม่ได้ แต่แท้จริงแล้วสามารถรับประทานได้ โดยการนำส่วนที่เป็นตาข่ายไปปรุงเป็นอาหาร ที่นิยมได้แก่ "ซุปเยื่อไผ่" ปัจจุบันมีการนำเข้าจากประเทศจีน ส่วนประเทศไทยมีการเพาะเพื่อการค้า แต่ยังไม่ขยายวงกว้างเท่าที่ควรเนื่องจากเพาะและดูแลยาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น