ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ธ.ก.ส.พิจิตร นำน้ำสะอาดช่วยประชาชน วาง 3 มาตรการช่วยภัยแล้ง
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นำน้ำดื่มสะอาด 500 ชุดช่วยเหลือภัยแล้ง พร้อมวาง 3 มาตรการช่วยเหลือพักชำระหนี้ ทำสินเชื่อระยะสั้นเงินฉุกเฉินใช้จ่ายในครัวเรือนและสินเชื่อระยะยาวฟื้นฟูหลังภัยแล้ง
ที่วัดหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดพิจิตร (ธ.ก.ส.) ร่วมจัดโครงการ "เพื่อนแล้งยามยาก ก้าวผ่านความลำบากไปด้วยกัน" โดยนำน้ำดื่มสะอาด จำนวน 500 ชุด 6,000 ขวด มีรถบรรทุกน้ำจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ทหาร นำน้ำดื่มมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านที่ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากปัญหาภัยแล้ง ประชาชนขาดน้ำดื่ม-น้ำอุปโภค พร้อมทั้งชี้แจง 3 มาตรการหลัก ขยายเวลาชำระหนี้ สินเชื่อระยะสั้นใช้จ่ายในครัวเรือนและสินเชื่อระยะยาวหลังภัยแล้ง
นายศรายุทธ ยิ้มยวน ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ระบุว่า หลังจากที่เกิดปัญหาภัยแล้ง กับประชาชนและลูกค้าของ ธ.ก.ส.ทางธนาคารจึงออกมาตรการช่วยเหลือ 3 มาตรการ สำหรับมาตรการของ ธ.ก.ส.ทั้งหมดจะช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิตต้องเสียหายไม่น้อยกว่า 50% ของผลผลิตทั้งหมด หรือเกษตรกรที่ชะลอทำการเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล หรือเกษตรกรที่ยังทำกิจกรรมการเกษตรไม่ได้เนื่องจากภัยแล้ง รวมถึงสหกรณ์การเกษตรพื้นที่ประสบภัยแล้ง
โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการสินเชื่อระยะสั้น แบ่งเป็น 3 มาตรการย่อย คือ มาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้าธนาคาร (สินเชื่อฉุกเฉิน) กู้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย กำหนดกู้ไม่เกิน 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.- 15 ต.ค.58 ชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน ปลอดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 3 เดือน โดยเดือนที่ 4-12 จะคิดอัตราเอ็มอาร์อาร์ หรือเท่ากับ 7% ต่อปี นอกจากนี้ ยังมี มาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตหลังประสบภัย (สินเชื่อฟื้นฟู) กู้รายละไม่เกิน 20,000 บาท ระยะเวลาให้เงินกู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.- 15 ต.ค.58 ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ เท่ากับ 7% ต่อปี และมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (สินเชื่อฟื้นฟูสมาชิกสหกรณ์) วงเงินอีก 10,000 ล้านบาท กู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.15 ต.ค.58 กำหนดชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือนกรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์-1.25 หรือเท่ากับ 5% ต่อปี ส่วนมาตรการหลักที่ 2 เป็นมาตรการระยะยาว เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตด้านการเกษตรเป็นการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร หรือเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นรูปแบบอื่นที่มีความเหมาะสมมากขึ้น ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.58 -31 ก.ค.61 วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย ชำระคืนไม่เกิน 10 ปี และผ่อนปรนไม่ต้องคืนเงิน 3 ปีแรกหากมีกรณีจำเป็น อัตราดอกเบี้ยปีแรก 0% จากนั้นคิดอัตราเอ็มอาร์อาร์-2% หรือเท่ากับ 5% ต่อปี ขณะที่ มาตรการสุดท้าย จะขยายระยะเวลาชำระออกไปไม่เกิน 9 เดือน และกรณีพิเศษไม่เกิน 12 เดือน โดยให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของรายได้ และสหกรณ์การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการชำระหนี้ของสมาชิก โตยพิจารณาขยายตารางกำหนดชำระหนี้ที่มีอยู่กับธนาคารออกไปไม่เกิน 12 เดือน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น