รายการถ่ายทอดสด



เทปบันทึกรายการ : ผ่านทาง YouTube

ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563

เชิญเที่ยวงาน ปิดทองไหว้พระขึ้นเขาเพ็ญเดือนสาม ประจำปี ๒๕๖๓ วัดเขารูปช้าง


เชิญเที่ยวงาน ปิดทองไหว้พระขึ้นเขาเพ็ญเดือนสาม ประจำปี ๒๕๖๓ วัดเขารูปช้าง ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ๕-​๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓


ติดตามข่าวสาร คนพิจิตร แฟนเพจ ได้ที่ : 

คนพิจิตร Line Official คลิ๊ก https://lin.ee/st48Lth

พิจิตร ลดฝุ่น PM 2.5 เกษตรกรเก็บฟางไว้ใช้แทนการเผา


เกษตรกรจังหวัดพิจิตร ทำการเก็บฟางหลังเก็บเกี่ยว นำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงในช่วงหน้าแล้ง งดการเผาทำให้เกิดหมอกควัน
สถานการณ์ภัยแล้ง แหล่งน้ำแห้งขอดลงในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบกับการทำการเกษตร แล้ว ยังส่งผลกระทบกับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ ที่บรรดาแหล่งอาหารโดยเฉพาะหญ้าสด ได้ลดจำนวนลง ทำให้ เกษตรกร ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ต่างนำเอาอุปกรณ์ ทำการเก็บฟางข้าว หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าว  โดยนำฟางที่ได้นำใส่รถ เพื่อนำไปเป็นอาหารให้สำหรับวัว ที่เลี้ยงไว้ เนื่องจากแหล่งอาหารโดยเฉพาะหญ้า ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้แหล่งอาหารจึงลดลง  เกษตรกรจึงต้องทำการเก็บฟางในแปลงนา เพื่อไว้เป็นอาหาร แทนการเผา ทำให้เกิดหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบกับสภาพอากาศ


โดย นางปราณี บัวเกิด เกษตรกรหมู่ที่ 5 ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า” ในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ส่งผลทำให้หญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารของวัว ลดน้อยลง จึงต้องออกมาทำการเก็บฟางข้าว หลังชาวนาเก็บเกี่ยว เพื่อสำรองเป็นอาหาร ให้กับวัว ที่เลี้ยงไว้ กว่า 30 ตัว  โดยการเก็บฟางข้าว ส่งผลดี เป็นอาหารที่สำคัญกับสัตว์เลี้ยง รวมถึง งดการเผาฟางข้าว ที่ทำให้เกิดหมอกควัน ที่ทางหน่วยราชการ และ ผู้นำหมู่บ้านได้รณรงค์งดการเผา ที่จะส่งผลให้เกิดหมอกควัน


สำหรับการเก็บฟางในนาข้าว  จะได้ประโยชน์ในรักษาผลผลิตไม่ให้ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของภัยแล้งที่รุนแรงในพื้นที่จังหวัดพิจิตรแล้ว การนำฟางในนาข้าวยังเป็นผลดีในการลดภาวะโลกร้อน เนื่องจากฟางในนาข้าวมาใช้จะลดปริมาณฟางข้าวในนาข้าว เป็นการลด การเผาตอซังซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มหมอกควัน และมลพิษจากการเผาตอซางข้าวอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร เก็บดอกงิ้วขายปีละครั้ง


พิจิตรดอกงิ้วที่กำลังออกดอกเบ่งบานสีแดงสะพรั่ง เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่จะได้กินกันปีละครั้งเท่านั้นช่วงเวลาในการเก็บดอกงิ้วจะอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และด้วยความที่หากินยาก ชาวบ้านจึงนิยมนำไปตากแห้งเพื่อส่งจำหน่าย
ที่บ้านวังสำโรงอำเภอตะพานหินจังหวัดพิจิตรชาวบ้านที่ว่างจากทำนาออกมาหาเก็บดอกงิ้วเพื่อนำไปตากแห้งและนำไปขายซึ่งดอกงิ้วจะมีลักษณะกลีบดอกสีแดงดอกละประมาณ 5 กลีบออกดอกเป็นกลุ่มๆ ตรงปลายกิ่งของต้นงิ้วที่มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร ส่วนใหญ่จะพบมีการปลูกเฉพาะภาคเหนือบางที่เท่านั้น จึงพบเห็นต้นงิ้วได้ยากในปัจจุบัน ส่วนที่นำมารับประทานคือส่วนเกสรดอกงิ้ว และในการเก็บดอกงิ้วซึ่งไม่จำเป็นต้องปีนต้นงิ้วขึ้นไปเก็บ เพราะสามารถเก็บดอกงิ้วที่ตกอยู่ใต้ต้นมาได้เลย เมื่อเก็บดอกงิ้วมาแล้วเด็ดเอากลีบออกเหลือแต่เกสรสีน้ำตาลด้านใน นำมาตากแดดให้แห้งสนิท แต่ก่อนนำไปทำอาหารให้แช่น้ำค้างคืนให้นุ่มก่อน

ลุงสาโรจน์  ชาญเชี่ยว 
ลุงสาโรจน์  ชาญเชี่ยว ชาวบ้าน ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เล่าว่า ดอกงิ้วที่ตนเองกำลังนั้นเป็นวัตถุดิบสำหรับการปรุงอาหารของชาวเหนือเช่นขนมจีนน้ำเงี้ยวและอาหารล้านนาอื่นๆอีกหลายอย่างโดยจะเก็บดอกงิ้วแล้วแกะกลีบของดอกงิ้วออกเพื่อจะเอาไปตากแห้งโดยสามารเก็บได้วันละ30-40กิโลกรัมเมื่อนำไปตากแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักแค่ประมาณ 3-4 กิโลกรัมและจะนำไปจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ200บาทสามารถหาเงินในช่วงที่ไม่ได้ทำนาถึงวันละ600-800บาท

สำหรับดอกงิ้วเป็นส่วนประกอบสำคัญของขนมจีนน้ำเงี้ยวและอาหารล้านนาอื่นๆ จริงๆ แล้วสามารถกินได้ทั้งดอกงิ้วสดและดอกงิ้วแห้ง มีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารล้านนา ดอกงิ้วสดต้มกินเหมือนผักต้มจิ้มกินกับน้ำพริกใส่ในแกงส้มหรือแกงแค ส่วนดอกงิ้วแห้งมักใส่ต้มกับแกงที่มีน้ำอย่างแกงน้ำเงี้ยวเป็นต้น

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร ล่าสมบัติแม่น้ำยม


พิจิตรแม่น้ำยมตอนบน เขตรอยต่อ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แห้งจนเห็นสันดอนพื้นทรายกลางแม่น้ำ ขณะที่ ระดับน้ำลดลง ส่งผลกระทบปลาหน้าวัดเขตอภัยทาน ขาดน้ำ  ขณะที่ ชาวบ้านรวมตัวออกหาสมบัติ โดยใช้เครื่องตรวจวัตถุ  ในแม่น้ำยมที่แห้งขอด พบของมีค่าเก่า เหรียญเก่า ของสะสม 
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพิจิตร ว่า”  ระดับน้ำในแม่น้ำยม ในพื้นที่ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร เขตติดต่อ กับ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยแม่น้ำยม ลดลงอย่างรวดเร็ว จนเห็นสันดอนกลางแม่น้ำ และหาดทรายบริเวณท้องแม่น้ำ ขณะที่แหล่งน้ำในแม่น้ำยม หน้าวัดศรีศรัทธาราม ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ระดับน้ำได้ลดลงเหลือเพียง 30 เซนติเมตร ชาวบ้านเกรงว่า หากระดับที่ลดลง จะส่งผลกระทบกับแหล่งปลาหน้าวัด  และชาวบ้าน 2 ริมฝั่งแม่น้ำยม ที่เกรงว่าน้ำต้นทุนจะไม่เพียงพอ ต่อการน้ำอุปโภค และน้ำบาดาลใต้ดิน ใช้ผลิตประปา ที่ลดระดับลง  ซึ่งน้ำในแม่น้ำยมที่แห้งเร็วกว่าทุกปี
ในส่วนที่ บริเวณแม่น้ำยม หมู่ที่ 2  บ้านวังแดง อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร  ซึ่งประสบปัญหาแม่น้ำยมน้ำแห้งขอดจนเห็นผืน ทรายท้องแม่น้ำเป็นแนวยาว     ชาวบ้านจากอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกันกับจังหวัดพิจิตร พลิกวิกฤติเป็นโอกาสรวมตัวกันออกหาสมบัติของมีค่า ในแม่น้ำยมที่แห้งขอด   ในแม่น้ำยมที่แห้งขอด  โดยใช้เครื่องตรวจจับโลหะ ที่ฝังอยู่ใต้ทองแม่น้ำยม   ซึ่งเมื่อเครื่องตรวจจับโลหะ แสดงตัวเลข และ เสียง พบโลหะ จะใช้ จอบขนาดเล็ก ขุดตรงที่หาวัตถุเจอ  ซึ่งก็พบของมีค่า ทั้งทองรูปพรรณ พระเครื่อง  เหรียญสตางค์ในสมัยต่าง และเครื่องรางของมีค่าต่างๆ จำนวนมาก เช่น เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับนักสะสมและผู้ชื่นชอบเป็นการสร้างรายได้ในช่วงที่น้ำลด
นาย อุเทน พูลสวัสดิ์  ชาวอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก  ชาวบ้านที่ออกหาของมีค่า กล่าวว่า เป็นชาวอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ร่วมตัวกัน 3-4คน เพื่อออกมาหาของมีค่าในแม่น้ำยมที่แห้ขอด โดยจะเลือกบริเวณที่เคยเป็นจุดที่เป็นชุมชนในอดีต ที่บางจุดเป็นที่ตั้งของเรือนแพ เพื่อหาของมีค่า โดยครั้งนี้สิ่งที่พบ ส่วนมากจะเป็นเหรียญสตางค์รู  ในสมัยต่าง พระเครื่อง ถ้าโชคดี จะพบทั้งทองรูปพรรณ ต่างหู  ซึ่งจมประปนอยู่กับกวดทรายบริเวณท้องแม่น้ำ มีมูลค่าหลายหมื่นบาท

สำหรับแม่น้ำยมที่ไหลผ่านพื้นที่อำเภอของจังหวัดพิจิตร คือ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และ อำเภอโพทะเล ล่าสุดระดับน้ำได้ลดลงอย่างรวดเร็ว จนแห้งขอดลง จนเห็นพื้นทรายในแม่น้ำยม  โดยเฉพาะ ในเขตอำเภอสามง่าม  และ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ทั้งในช่วงตอนบน และ ตอนกลางของแม่น้ำยม ที่ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปลายปี




พิจิตร แห่ขอเลขต้นตะเคียนอายุกว่า 700 ปี


พบต้นตะเคียนโบราณ จำนวน 4 ต้น  อายุ กว่า 702 ปี  หลังจากที่ทำการลอกแหล่งน้ำ จนพบต้นตะเตียน ขนาดใหญ่ นำมาไว้บริเวณวัด บรรยากาศชาวบ้านจุดธูป เทียนบูชา  และนำแป้งมาโรยทา บริเวณลำต้น  เพื่อขอเลขเด็ดจากต้นตะเคียน  


ที่วัดป่ามะคาบหมู่ที่ 3  ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร  ชาวบ้าน และนักเสี่ยงโชคต่างแห่กันมาขอเลขเด็ด  หลังทราบข่าวว่ามีการขุดพบต้นตะเคียน 4 ต้น ซึ่งมี เส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ความยาว  20  เมตร จำนวน  2  ต้น  และ ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 75  เซนติเมตร ยาว  15  เมตร 2 ต้น ที่บริเวณแหล่งน้ำ ในพื้นที่ ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร และ ได้ทำการเคลื่อนย้าย มาไว้ที่วัดป่ามะคาบ ซึ่งคำบอกเล่าของชาวบ้าน ต้นคะเคียน ที่พบทั้ง 4 ต้น มีอายุกว่า 702 ปี 


โดยบรรยากาศหลังชาวบ้านทราบข่าว โดยมีชาวบ้านและ นักเสี่ยงโชค ต่างทยอยเข้ามากราบไหว้ เจ้าแม่ตะเคียนโบราณ พร้อมทั้ง นำเครื่องเซ่นไหว้  จุดธูป เทียนบูชา  และนำแป้งมาโรยทา บริเวณลำต้น  เพื่อขอเลขเด็ดจากต้นตะเคียน  ซึ่งชาวบ้าน บางส่วนต่างตีเลขเด็ดเพื่อนำไปซื้อหวย โดยมีแผงลอตเตอรี่ ที่บรรดาพ่อค้า แม่ค้า มาบริการวางขายกันถึงที่ เพื่อให้นักเสี่ยงโชคกับตัวเลข  



สำหรับวัดป่ามะคาบ ตำบลป่ามะคาบ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ที่ได้นำต้นตะเคียน มาไว้ที่ลานวัด เมื่อใกล้ถึง วันออกสลากกินแบ่งรัฐบาล   จะมีชาวบ้าน มากราบไหว้ จำนวนมาก ซึ่งทางวัดเอง อยากให้ประชานมากราบไหว้ขอพร มากกว่า การมาขอเลขหวย  ซึ่งทางวัดต้องคอยดูแล และปิด-เปิดเป็นเวลา เพื่อป้องกันสิ่งของภายในวัดเสียหาย 



ติดตามข่าวสาร คนพิจิตร แฟนเพจ ได้ที่ : 

คนพิจิตร Line Official คลิ๊ก https://lin.ee/st48Lth

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

ตายเกลื่อน แม่น้ำยมแห้งต่อเนื่อง



พิจิตรแม่น้ำยมแห้งต่อเนื่อง ส่งผลให้ สัตว์น้ำ ที่อาศัยบริเวณแหล่งน้ำหน้าวัดเขตอภัยทาน  โดยเฉพาะหอย ที่อาศัยในแหล่งน้ำในแม่น้ำยม ขึ้นตายเกลื่อน ส่งผลระบบนิเวศน์ทางน้ำ เสี่ยงสูญพันธุ์ ขณะที่เกษตรกรปลูกแตงโม พืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาในช่วงหน้าแล้ง ประสบปัญหาหลังราคาแตงโมตกต่ำ
วันที่ 28 มกราคม 2563 สถานการณ์ภัยแล้งในเขตพื้นที่จังหวัดพิจิตร ยังคงส่งผลกระทบ โดยเฉพาะแม่น้ำยมในพื้นที่เขตอภัยทาน หน้าวัดศรีศรัทธาราม  ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อจากอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยระดับน้ำในแม่น้ำยมที่ไหลผ่าน ยังคงแห้งขอด ตลอดทั้งลำน้ำ ส่งผลกระทบกับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะบรรดาหอยกาบ ที่อาศัยอยู่จำนวนมาก อยู่บริเวณหน้าวัดขาดน้ำ ขึ้นมาตายเกลื่อนในท้องแม่น้ำยม  เนื่องจากระดับน้ำได้แห้งขอด และ มีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น อย่างต่อเนื่อง  ส่งผลกับระบบนิเวศน์ทางน้ำ และ สัตว์น้ำในแม่น้ำยม เสี่ยงสูญพันธุ์


ซึ่งล่าสุดระดับน้ำได้ลดลงเหลือเพียงแอ่งน้ำเพียงเล็กน้อย ที่ยังพอมีน้ำให้สัตว์น้ำ ปลา และ หอย ได้อาศัยอยู่  ชาวบ้านเกรงว่า หากระดับที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม   จะส่งผลกระทบกับแหล่งสัตว์น้ำหน้าวัด ตายหมดเสี่ยงสูญพันธุ์ และชาวบ้าน ริมฝั่งแม่น้ำยม ที่เกรงว่าน้ำต้นทุนจะไม่เพียงพอ ต่อการน้ำอุปโภค และน้ำบาดาลใต้ดิน ใช้ผลิตประปา ที่ลดระดับลง  ซึ่งน้ำในแม่น้ำยมที่แห้งเร็วกว่าทุกปี


ขณะที่เกษตรกร ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ที่หันปลูกแตงโมแทนการทำนาในช่วงหน้าแล้งในพื้นที่ ทำการเก็บผลผลิตลูกแตงโม เพื่อนำมาขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ แต่ก็ต้องกำลังประสบปัญหาเรื่องของราคาแตงโมที่กำลังตกต่ำเหลือแค่กิโลกรัมละ5บาท  แต่ก็ต้องจำใจต้องขายเพราะถึงเวลาตัดถ้าไม่ตัดขายอาจจะทำให้ลูกแตงโมเน่าเสียคาต้นส่งผลให้ขาดทุนในการปลูก หลายหมื่นบาท 
นางเพ็ญ คะระนันท์ เกษตรกรตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า”  ตนเองปลูกแตงโมในพื้นที่กว่า10ไร่โดยลงทุนไปทั้งหมดกว่า 1 แสนบาทโดยบอกว่าราคาของแตงโมในปีนี้ตกต่ำมากเลยเหลือแค่กิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งแตกต่างจากปีที่ผ่านมา  แต่เกษตรกรก็ต้องจำใจที่ต้องตัดแตงโมขายในราคาที่ถูก เพราะถ้าไม่ตัดขายอาจจะทำให้ลูกแตงโมเน่าเสียหายขาดทุนเสียหายมากไปกว่านี้ อยากให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางช่วยเหลือ หลังจากที่รณรงค์ป,กพืชใช้น้ำน้อยแทน แต่ ผลผลิจออกมากับเจอปัญหาราคาตกต่ำ 

ชาวนาพิจิตร ปลูกพืชใช้น้ำน้อย ประสบปัญหา ราคาแตงโมตกต่ำ


เกษตรกรที่ปลูกแตงโม พืชใช้น้ำน้อยแทนการทำนาในช่วงหน้าแล้ง ประสบปัญหาหลังราคาแตงโมตกต่ำเหลือแค่กิโลกรัมละ5บาท
เกษตรกรที่ปลูกแตงโมแทนการทำนาในช่วงหน้าแล้งในพื้นที่ ตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมืองพิจิตร ทำการเก็บผลผลิตลูกแตงโม เพื่อนำมาขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ แต่ก็ต้องกำลังประสบปัญหาเรื่องของราคาแตงโมที่กำลังตกต่ำเหลือแค่กิโลกรัมละ5บาท  แต่ก็ต้องจำใจต้องขายเพราะถึงเวลาตัดถ้าไม่ตัดขายอาจจะทำให้ลูกแตงโมเน่าเสียคาต้นส่งผลให้ขาดทุนนับแสนบาท
นางเพ็ญ คะระนันท์ เกษตรกรที่ปลูกแตงโม  เล่าว่า ตนเองปลูกแตงโมในพื้นที่กว่า10ไร่โดยลงทุนไปทั้งหมดกว่า 1 แสนบาทโดยบอกว่าราคาของแตงโมในปีนี้ตกต่ำมากเลยเหลือแค่กิโลกรัมละ 5 บาท ซึ่งแตกต่างจากปีที่ผ่านมา  แต่เกษตรกรก็ต้องจำใจที่ต้องตัดแตงโมขายในราคาที่ถูก เพราะถ้าไม่ตัดขายอาจจะทำให้ลูกแตงโมเน่าเสียหายขาดทุนเสียหายมากไปกว่านี้
สำหรับตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน โดยการปลูกแตงโมของเกษตรกร นับว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ ในการปลูกทดแทนการทำนาข้าว โดยใช้เวลาเพียง 2 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้ โดยรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ไร่ละ 10,000 บาท แต่ปัจจุบันจากที่ทางภาครัฐมีการส่งเสริมปลูกพืชใช้น้ำน้อยทดแทนการทำนา ทำให้ผลผลิตออกจำนวนมาก จึงทำให้แตงโมราคาตกต่ำทำให้เกษตรกรที่ปลูกแตงโมต้องขาดทุน และ มีรายได้น้อยลงกว่าครั้งที่ผ่านมา








วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร สู้แล้งปลูกดาวเรืองสร้างรายได้


พลิกวิกฤติสู้ภัยแล้ง เกษตรกรหันมาปลูกดาวเรืองพืชใช้น้ำน้อย ใช้เวลาเพียง 65 วัน สามารถตัดดอกจำหน่าย สร้างรายได้ ดี ในช่วงต้นทุนน้ำจำกัด
ดอกดาวเรือง ที่กำลังออกดอกเหลืองอร่าม บานสะพรั่ง รวมถึงเกล่าบรรดาผึ้ง และ ผีเสื้อ ที่มากินน้ำหวานจากเกสร ของดอกดาวเรือง ในพื้นที่กว่า 2 ไร่ ของเกษตรกรในตำบลคลองคะเชนทร์ อำเภอเมืองพิจิตร  ที่นำพื้นที่ว่างเปล่า มาทำการปลูกดาวเรือง ซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ตัดเก็บดอกจำหน่าย ซึ่งใช้เวลาปลูกเพียง 65 วัน ก็สามารถตัดเก็บดอกจำหน่าย ครั้งละกว่า 10,000 ดอก(หนึ่งหมื่นดอก)   สร้างรายได้ วันละ 5000-6000 บาท ต่อการตัดหนึ่งครั้ง   
นางมณี ชมญาติ เกษตรกรที่ปลูกดาวเรือง  เล่าว่า  นำพื้นที่จำนวน 2 ไร่  ลงทุนปลูกดาวเรือง โดยใช้เวลาปลูก 65 วัน ก็สามารถเริ่มตัดดอกจำหน่ายได้ ส่วนการดูแลโดยการให้น้ำปริมาณที่น้อย กว่า การปลูกข้าวโพด ป้องกันแต่โรคเชื้อรา  ส่วนการตัดดอก จะตัดทุก 3 วัน ตัดเก็บดอกขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อสร้างรายได้
สำหรับการปลูกดาวเรืองเพื่อตัดดอกขาย ถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีแต่สิ่งที่สำคัญคือการดูแลเพราะต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ผลผลิตออกมาสมบูรณ์ที่สุด ส่วนราคาอยู่ที่ความต้องการของตลาด ในราคา ดอกละ 50 สตางค์ ตามขนาดความใหญ่ของดอก สามารถสร้างรายได้ของพืชทางเลือก ในช่วงน้ำต้นทุนมีจำนวนจำกัด 

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร แล้งจัดลงทุนเจาะบ่อบาดาลเลี้ยงสวนส้มโอ


สถานการณ์ที่แล้งจัดต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนส้มโอที่ ต้องเพิ่มเงินทุน กว่า 5 หมื่นบาท เพื่อเจาะบ่อบาดาล นำน้ำใต้ดินเลี้ยงสวนส้ม หลังจากภัยแล้ง ซึ่งแหล่งน้ำในคลองชลประทานสายหลักแห้งขอดหลังจากชลประทานงดจ่ายน้ำเข้าสู้ระบบ 
สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่พิจิตรยังคงส่งผลกระทบชาวสวนส้มโอในพื้นที่ ตำบลดงกลาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เกษตรกรสวนส้มโอต้องลงทุนเจาะบ่อบาดาล โดยว่าจ้างผู้รับเหมาเพื่อเจาะบ่อบาดาลในส้มโอที่เริ่มออกลูกจำนวนกว่า 5 ไร่ เพื่อนำน้ำขึ้นมาเลี้ยงต้นโอให้มีผลผลิตสมบูรณ์ หลังจากที่สถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระทบกับชาวสวนส้มแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งจนหมดและ น้ำในคลองชลประทาน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักแห้งขอดจนไม่มีน้ำ ส่งผลกระทบกับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอแหล่งใหญ่ของจังหวัดพิจิตร ขาดน้ำต้นทุนในการสูบเลี้ยงส้มโอที่กำลังออกผลใกล้เก็บเกี่ยว เกษตรกรจึงต้องลงทุนว่าจ้างผู้รับเหมาทำการเจอะบ่อบาดาล ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเจาะบ่อและอุปกรณ์ต่างๆมูลค่ากว่า 50,000 บาท ต่อการเจาะบ่อบาดาล 1 ลูก เป็นการเพิ่มต้นทุนในการปลูกส้มโอจากเดิม แต่เกษตรกรก็ต้องยอมลงทุนเพื่อป้องกันส้มโอจะได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง

สำหรับพื้นที่จังหวัดพิจิตรจากสถานการณ์ที่แล้งจัดต่อเนื่องในช่วงฤดูแล้ง ประกอบกับฤดูฝนที่ผ่านมามีปริมาณฝนน้อยกว่าทุกปี ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดพิจิตร เริ่มประสบปัญหาภัยแล้งอีกครั้งซึ่งถือว่าเร็วกว่าทุกปีและยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนส้มโอ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มโอสำคัญของจังหวัดพิจิตร ทั้งส้มโอท่าข่อย ส้มโอพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร และส้มโอขาวแตงกวาที่มีเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่

พิจิตร คลองส่งน้ำระบบชลประทานงดจ่ายน้ำส่งผลทำให้คลองชลประทานแห้งขอด


พิจิตรคลองส่งน้ำระบบชลประทานงดจ่ายน้ำ ส่งผลทำให้คลองชลประทานแห้งขอด ขณะที่ผู้อำนวยการชลประทาน ขอให้เกษตรกรลดพื้นที่การทำนาปรังรอบ 2   เตือนเกษตรกรชาวนา อย่าลักลอบ สูบน้ำ  เนื่องจากจำเป็นจะต้องเก็บน้ำไว้ใช้ในอุปโภคบริโภค
วันที่ 26 มกราคม 2563 สถานการณ์น้ำในคลองระบบชลประทานผ่านทางคลอง ซี 40 ซึ่งเป็นคลองสายหลักจาก จังหวัดพิษณุโลก ที่ส่งน้ำจากระบบชลประทานผ่าน พื้นที่จังหวัดพิจิตร เป็นคลองเส้นใหญ่สายหลัก มีความยาว 81 กิโลเมตร โดยจะจ่ายน้ำส่งต่อไปยังโครงการชลประทานดงเศรษฐีและโครงการชลประทานท่าบัว น้ำที่ไหลจะกระจายไปตามคลองสาขาต่าง ๆ อย่างทั่วถึงในพื้นที่นาข้าวที่อยู่ในเขตชลประทาน โดยการจัดสรรน้ำสู่ระบบคลองให้แก่พื้นที่เพาะปลูกในบางส่วนของ อ.เมืองพิจิตรอ.สามง่ามอ.โพธิ์ประทับช้างอ.บึงนาราง และ อ.โพทะเล จ.พิจิตร รวม 30 ตำบล  เป็นจำนวนพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 186,000 ไร่  ปัจจุบันต้องตกอยู่ในสภาพแห้งขอด หลังจากทางชลประทานงดจ่ายน้ำในระบบ เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว ส่งผลทำให้คลองส่งน้ำ มีสภาพแห้งขอด ไม่มีน้ำ ถึงแม้เกษตรกร บางส่วน จะนำกระสอบทราย ทำคันกั้นน้ำ แต่ไม่มีปริมาณน้ำ กักเก็บส่งผลทำให้คลองขาดน้ำ 
นายอำนาจ   อินทร์วงศ์แก้ว  ผอ.โครงการชลประทานพิจิตร  กล่าวว่า”  สถานการณ์ภัยแล้งของพื้นที่จังหวัดพิจิตร ที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปีนี้ต้องยอมรับว่าปริมาณน้ำฝนมีน้อย อีกทั้งฝนที่ตกเหนือเขื่อนก็มีน้อยด้วยเช่นกัน ทำให้ปริมาณน้ำที่กักเก็บในเขื่อนต่างๆที่อยู่ทางภาคเหนือ มีปริมาณกักเก็บเหลือน้อยเหลืองเพียง 21%  เท่านั้น ดังนั้นในช่วงนี้ชลประทานจังหวัดพิจิตรจึงขอร้องให้ลดพื้นที่การทำนาปรังรอบ 2  ทั้งพื้นที่ที่อยู่ในเขตการส่งน้ำของชลประทานและอยู่นอกเขตการส่งน้ำ เนื่องจากทางชลประทานงดจ่ายน้ำในระบบชลประทานบางส่วน  เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกข้าว

นายอำนาจ   กล่าวต่อว่า “  หลังจากปริมาณน้ำ โดยเฉพาะ แม่น้ำน่าน  ที่ ไหลผ่าน 3 อำเภอน่าเป็นห่วงเนื่องจากน้ำลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน้ำ ในแม่น้ำน่าน  นั้น เก็บไว้เพื่อ อุปโภค บริโภค และระบบนิเวศน์    แต่ยังมีรายงานพบว่ายังมีเกษตรกรชาวนายังฝ่าฝืน  ยังมีการแอบลักลอบ สูบน้ำจากแม่น้ำน่านเพื่อไปทำนา ทั้งที่ มีการ แจ้งเตือนแล้ว ขอความร่วมมือ แล้วว่าขอให้งดทำนาปรังเนื่องจากน้ำไม่เพียงพอในการทำเกษตร แต่ เกษตรกรก็ยังไม่เชื่อ    ซึ่งตนเองได้ เตือนไปแล้ว  และขอความร่วมมือ  และ สั่งคุมเข้มห้ามสถานีสูบน้ำไฟฟ้าสูบน้ำ เด็ดขาด

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร แล้งส้มโอขาดน้ำร่วงหล่นเสียหาย


คลองชลประทานน้ำแห้งขอด ส่งผลกระทบแหล่งสวนส้มโอ ร่วงหล่นจากต้น เนื่องจากขาดน้ำ เหี่ยวเฉา ผลเหลือง สร้างความเสียหายเกษตรกรขาดรายได้จากการเก็บผลส้มโอเพื่อจำหน่าย 
สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตรยังคงส่งผลกระทบขยายวงกว้างต่อเนื่อง หลังจากที่ชลประทานงดจ่ายน้ำทำให้น้ำในคลองชลประทานที่เป็นแหล่งน้ำแห่งเดียวที่ใช้ในการดูแลต้นส้มโอต้อง แห้งขอดลงจนไม่มีน้ำเหลือเพียงพอนำขึ้นมาใช้ทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะสวนส้มโอ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอพันธุ์พื้นเมืองแหล่งใหญ่ของจังหวัดพิจิตร โดยต้นส้มโอมีลักษณะใบเหี่ยวเฉา ผลส้มโอที่ใกล้เก็บผลผลิต ที่มีลักษณะลูกเป็นสีเหลือง และได้หลุดจากขั้ว ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินจำนวนมากสร้างความเสียหายเกษตรกรขาดรายได้จากการเก็บผลส้มโอเพื่อจำหน่าย   เนื่องจากขาดน้ำ เป็นเวลานาน   อาจจะทำให้ต้นส้มโออายุกว่า 10 ปี จะยืนต้นตายจากภัยแล้ง      

สำหรับสวนส้มโอ ของเกษตรการชาวสวนส้มโอในพื้นที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตส้มโอสำคัญของจังหวัดพิจิตร ทั้งส้มโอท่าข่อยซึ่งเป็น ส้มโอพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร และส้มโอขาวแตงกวาที่มีเนื้อที่มากกว่า 2,000 ไร่ โดย เกษตรกรนิยมปลูกกันจำนวนมาก   ซึ่งหลังจากที่น้ำในคลองชลประทาน และแหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดลง ส่งผลกระทบกับเกษตรชาวสวนส้มโอ ขาดน้ำที่จะมาล่อเลี้ยงสวนส้มโอ 

พิจิตร พายุถล่มโรงเรียนบ้านเรือนเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน



พิจิตรพายุหลงฤดูพัดถล่มพื้นที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่  เสาไฟหักโค่น โรงเรียนเสียหาย  หลังคาบ้านประชาชนโดนลมพายุหอบไปทั้งหลัง เสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจเพื่อให้การช่วยเหลือ

วันที่ 25 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุพายุลมแรงในพื้นที่จังหวัดพิจิตรในหลายพื้นที่สร้างความเสียหายจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลไผ่ท่าโพ  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง  จังหวัดพิจิตร ได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งโรงเรียน และบ้านเรือนประชาชน  โดยที่โรงเรียนเทศบาลโพธิ์ประทับช้าง พายุได้พัดเอาเสาไฟฟ้าหักโค่นทับอาคารภายในโรงเรียนจนได้รับความเสียหาย สังกะสีจากบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงพัดมาค้างที่บริเวณยอดไม้ของโรงเรียนจำนวนมาก


นอกจากนี้พายุลมแรงยังสร้างความเสียหายบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ 5 หมู่บ้านของตำบลไผ่ท่าโพ ได้รับความเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน   โดยที่บ้านของนางสะอาด  มณีโชติ  อายุ 65 ปี  บ้านเลขที่ 265 หมู่ที่ 1 ตำบลไผ่ท่าโพ  ลมพายุหมุนได้พัดหอบเอาหลังคาบ้านทั้งหลังหลุดออกจากตัวบ้านทั้งหลัง  ทำให้บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง ทรัพย์สินมีค่าได้รับความเสียหายจากฝนที่ตกลงมา

ขณะที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง  เทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบวาตภัยอย่างเร่งด่วนต่อไป


พิจิตร ตรุษจีน ฉายหนังผีให้ผีดู




พิจิตรฉายหนังผีให้ผีดู ประเพณีสืบทอดยาวนานเป็นปีที่ 53 ลูก หลานจัด ฉายหนังกลางแปลงให้บรรพบุรุษชมในวันเที่ยวช่วงเทศกาลตรุษจีน ปีนี้เน้นหนังผี 3 เรื่องควบ

ที่ "สุสานมูลนิธิพิจิตรสามัคคี" ติดกับ วัดมูลเหล็ก ต.คลองคะเชนทร์ อ.เมือง จ.พิจิตร  ได้มีการจัดฉายภาพยนตร์กลางแปลงของบุญเชิดภาพยนต์ ซึ่งถือว่าแปลกที่สุดในประเทศไทยเนื่องจากเป็นการฉายให้กับวิญญาณบรรพบุรุษที่มีการบรรจุร่างของบรรพบุรุษภายในสุสาน กว่า 300 หลุม  ได้ชม โดยกำหนดฉายภาพยนตร์ในคืนวันชิวอิก ซึ่งเป็นวันเที่ยวของเทศของเทศกาลตรุษจีน มีการจัดงานต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2510  เพื่อเป็นการสร้างความบันเทิงให้กับวิญญาณบรรพบุรุษตามความเชื่อของลูก หลานที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาโดยบรรยากาศภายในงานมีพิธีกราบไหว้แป๊ะกง หรือเจ้าที่ การเผากระดาษเงินกระดาษทอง และการบอกกล่าววิญญาณของบรรพบุรุษให้รับทราบว่าจะมีการจัดฉายภาพยนตร์ ให้ได้ชม
สำหรับในปีนี้มีการฉายภาพยนตร์ 3 เรื่อง ที่ทำการเสนอฉายล้วนเป็นหนังผีทั้งหมด ได้แก่ ภาพยนตร์ป่วงเซียง ซึ่งเป็นภาพยนตร์สำหรับไหว้เจ้าที่และวิญาณบรรพบุรุษ จากนั้นเป็นการฉายภาพยนตร์ผีอีก 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง ตะเคียน” ซึ่งเป็นหนังผีสยองขวัญ และเรื่อง โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า” หนังผีประเภทตลกขบขัน โดยเริ่มฉายภาพยนตร์ตั้งแต่เวลา 19.00 -24.00 น.ซึ่งตลอดการชมจะมีเฉพาะกรรมการและชาวบ้านที่ทราบข่าวและมาเที่ยวชมไม่เกิน 20 คนท่ามกลางความหนาวเย็นของอุณหภูมิที่ลดลงเหลือเพียง 20 องศาเซลเซียส เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นจากการแปรปรวนของสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพิจิตร

สำหรับการจัดฉายหนังกลางแปลงเพื่อให้วิญญาณบรรพบุรุษได้ชมมีการจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยจัดครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2510 หรือเมื่อ 53 ปี ที่แล้ว โดยทุกปีจะมีการจัดภาพยนตร์เพื่อเป็นการสร้างความบันเทิงให้กับวิญาณของบรรพบุรุษภายในสุสานซึ่งมีหลุมฝังบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นคหบดี และคนมีชื่อเสียงที่เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนของจังหวัดพิจิตร ตามความเชื่อว่าการฉายภาพยนตร์เป็นการสร้างความบันเทิงให้กับดวงวิญญาณบรรพบุรุษในวันชิวอิก หรือวันเที่ยวในเทศกาลตรุษจีน


วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563

พิจิตร แหล่งน้ำแห้งนกกระยางขาวบินตามรถไถนาเพื่อหาอาหาร


พิจิตรนกกระยางขาวหลายร้อยตัว  อาศัยบินตามรถไถนา เพื่อหาอาหารโดยเฉพาะแมลงและหนอน หลังแหล่งน้ำ และ แหล่งอาหารแห้งขอดลงหลายพื้นที่  
ที่บริเวณทุ่งนา ตำบลดงป่าคำ  อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร นกกระยางขาว ที่อพยพ จำนวนหลายร้อยตัว  รวมตัวกันหาอาหารบริเวณพื้นนาข้าว  ที่เกษตรกรได้เริ่มลงมือไถนาเพื่อเตรียมการเพาะปลูกข้าว โดยนกกระยางต่างจับกลุ่มกันออกหาอาหารในพื้นที่นาข้าวเพื่อหากินแมลงและหนอน พากันบินวนหาอาหารตามหลังรถจักรกลการเกษตร ที่เกษตรกรชาวนากำลังไถที่กำลังปรับพื้นที่นา เพื่อเป็นแหล่งอาหาร หลังจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ หลายแห่งเริ่มทยอย แห้งขอดลง จนทำให้แหล่งอาหารเหลือน้อย ซึ่งเหล่าบรรดานกกระยาง จึงต้องอาศัยแปลงนาข้าว ที่ชาวนาปรับพื้นนา เป็นแหล่งอาหารแทน  
สำหรับ นกกระยางขาว” จะชอบอาศัยอยู่ตามหนองน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์  แต่หลังจากแหล่งน้ำลดลง จึงต้องอาศัยแปลงนาข้าว เป็นแหล่งอาหาร  สร้างความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นการหาชมได้ยาก ที่พบนกกระยาง ขาวจะอพยพมาอาศัยรวมตัวอยู่กันจำนวนมาก      ทำให้ภาพที่ประชาชนผ่านไปมาเห็นเป็นภาพที่สวยงาม ตามธรรมชาติ และการพึ่งพากันของมนุษย์กับนก ที่ไม่ทำร้ายกัน