รายการถ่ายทอดสด



เทปบันทึกรายการ : ผ่านทาง YouTube

ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

พิจิตร แล้งแหล่งน้ำหมดข้าวนาปรังยืนต้นตาย


ชาวนาพิจิตรนอกเขตชลประทานเสี่ยงทำนา ในช่วงแล้ง แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดลง  ต้องปล่อยข้าวนาปรัง ที่เริ่มเพาะปลูก กว่า 20 ไร่ ยืนต้นตายจากภัยแล้ง ขณะที่สำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร  ออกรณรงค์ส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อย

สถานการณ์น้ำ ในจังหวัดพิจิตร ว่า”  แหล่งน้ำต้นทุน ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่แห้งขอดลง ส่งผลทำให้ต้นข้าวนาปรัง อายุกว่า 1 เดือนเศษ  กว่า  20  ไร่ ของเกษตรกรหมูที่ 5 ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เสี่ยงทำนา เนื่องจากไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้   กำลังขาดแคลนน้ำ แห้งเหี่ยว และยืนต้นตาย  หลังจากที่ชาวนาที่เสี่ยงการทำนาปรังในช่วงนี้ขาดน้ำ เนื่องจากระดับน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนของการเพาะปลูกข้าวนาปรัง รวมถึงน้ำบาดาลใต้ดินที่ลดระดับลง จนไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาล่อเลี้ยงต้นข้าว ต่อการทำนาทั้งหมดได้   เกษตรกรชาวนา จึงจำเป็นต้องยอมปล่อยทิ้งนาข้าวบนแปลงนา ให้แห้งเหี่ยวตาย ไปกับความแห้งแล้ง    

ขณะที่ นายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า” สถานการณ์พืชที่ปลูกช่วงฤดูแล้ง ข้าวนาปรัง ที่ชาวนาปลูกข้าวรอบ2 มีพื้นที่ปลูกประมาณ 250,000 ไร่ จากพื้นที่เคยปลูก กว่า 500,000 ไร่  ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีแหล่งน้ำบาดาลสำรอง คาดว่าจะได้รับผลกระทบเป็นส่วนน้อย   ส่วนพืชที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากได้แก่ มะม่วง พื้นที่ปลูกประมาณ 27,000ไร่ ในพื้นที่อำเภอสากเหล็ก และ ส้มโอ พื้นที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเมือง และ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ประมาณ 15,000 ไร่  เนื่องจากระดับน้ำบาดาลลดลง รวมถึงน้ำผิวดินตามแหล่งกักเก็บ  

นายวีระชัย เข็มวงษ์ เกษตรจังหวัดพิจิตร กล่าวต่อว่า” ซึ่งทางสำนักงานเกษตรจังหวัดพิจิตร  ออกรณรงค์ส่งเสริม ให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยตามนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ข้าวโพดหลังนา ถั่วเขียวและพืชผัก รวมถึงแตงโม เมล่อนและข่า ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ ต่างพากันปรับตัว ทำการเกษตรพืชอายุสั้น แทนการทำนา ในช่วงฤดูแล้ง  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น