ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562
พิจิตร แม่ค้าแบกรับภาระจากข้าวเหนียวปรับขึ้นราคา
พิจิตร แม่ค้า ต้องแบกรับภาระวันละ 500-600 บาท จากการปรับตัวของราคาข้าวเหนียว ส่งผลกระทบกับร้านข้าเหนียวหมูปิ้ง และ ร้านข้าวหลามที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ แม่ค้าระบุว่า ซึ่งหากมีการปรับราคาอีก จะหยุดขาย เนื่องจากแบกภาระไม่ไหว
จากกรณีราคาข้าวเหนียว ที่ถูกปรับราคาสูงขึ้นมา จนส่งผลให้ผู้บริโภค และพ่อค้า-แม่ค้าขายข้าวเหนียว ต่างได้รับผลกระทบอย่างมากนั้น ซึ่งทางบรรดาพ่อค้า แม่ ค้า ที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ ในการจำหน่ายอาหาร ในเขตตลาดสดเทศบาลเมืองพิจิตร ต้องแบกภาระในการจำหน่ายสินค้าไม่มีการปรับขึ้นราคา เพื่อดึงลูกค้า ที่ซื้ออยู่เป็นประจำ โดยมีต้นทุนเพิ่ม ถึง วันละ 500-600 บาท ซึ่งส่งผลทำให้การค้าขาย กำไรน้อยลง ถึงขั้นเสมอตัว
โดย นางจรรยา มณีกาศ แม่ค้าขายข้าวเหนียว หมูปิ้ง ในตลาดสดเทศบาลเมืองพิจิตร ระบุว่า หลังจากที่ข้าวเหนียวได้ปรับราคา จากในน้ำหนัก 45 กิโลกรัม กระสอบละ 1400 บาท ขึ้นเป็นกระสอบละ 2000 บาท ส่งผลทำให้การค้าขาย ที่ต้องแบกรับภาระจากการปรับราคาของข้าวเหนียว ซึ่งปกติ ในแต่ละวัน จะใช้ข้าวเหนียว วันละ 45-50 กิโลกรัม แต่ มีการปรับราคาของข้าวเหนียวขึ้น จึงต้องแบกภาระในการขาย ถึง วันละ 600 บาท แต่ทางร้านที่ไม่มีการปรับราคา และ ปริมาณอาหาร ในราคา 20-25 บาท เพื่อดึงลูกค้า ไม่ให้หายจากการจำหน่าย
ขณะที่ ป้าตุ๊ ที่เปิดจำหน่ายข้าวหลาม ที่ใช้ข้าวเหนียวเป็นวัตถุดิบ ในการทำข้าวหลาม ระบุว่า ปกติจะใช้ข้าวเหนียว วันละ 10 กิโลกรัม แต่หลังจากมีการปรับราคาขึ้น ข้าวหลามที่จำหน่ายอยู่ ยังจำหน่ายราคาปกติ จึงต้องแบกภาระ วันละ 500 บาท จากการปรับราคาของข้าวเหนียว ซึ่ง หากมีการปรับราคาขึ้น ถึงกิโลกรัมละ 50 บาท จะต้องหยุดจำหน่ายชั่วคราว เพื่อไม่ให้กระทบกับรายได้ ที่ไม่สมดุลกับต้นทุนการผลิต
สำหรับการปรับราคา ของข้าวเหนียว ในช่วงนี้ ซึ่งทางบรรดาพ่อค้า แม่ ค้าส่วนใหญ่ ต้องแบกภาระต้นทุน ในการจำหน่ายสินค้า เพื่อรอ ข้าวเหนียวใหม่ ของเกษตรกร ซึ่งจะผ่านขบวนการตลาด และ จะทำให้ราคาปรับลง แต่ การปรับราคาของข้าวเหนียวที่สูงขึ้น ทางร้านค้า ยังคงจำหน่ายสินค้าราคาเดิม เพื่อรักษาลูกค้า ให้อยู่กับการจำหน่ายสินค้า
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น