ประเพณีแข่งเรือ เป็นประเพณีหน้าน้ำของคนไทย
เป็นการละเล่นในยามน้ำหลากที่สืบทอดมาแต่โบราณ
และมักมีการแข่งเรือควบคู่ไปกับการทำบุญ ปิดทอง ไหว้พระและงานกฐิน
ช่วยสร้างบรรยากาศให้งานบุญครึกครื้นขึ้น
ประเพณีแข่งเรือ
เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในชนบทถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้น้ำ
ในช่วงเดือนสิบเอ็ดและเดือนสิบสอง ชาวบ้านเว้นว่างจากการทำไร่ทำนา
เป็นโอกาสที่หนุ่มสาวได้พบปะเกี้ยวพาราสีกัน ได้เห็นฝีไม้ลายมือของชายอกสามศอก
ได้เห็นความสามัคคีพร้อมเพรียงของเหล่าหนุ่มฝีพาย การแข่งเรือมักมีการเล่นเพลงเรือ
เพลงปรบไก่ เพลงครึ่งท่อน และสักวาโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวหลังการแข่งเรือ
เป็นการใช้ฝีปากไหวพริบและความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน โต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน
ได้แสดงความสามารถทั้งหญิงและชาย ผู้ดูมีทั้งอยู่บนตลิ่ง
และที่พายเรือกันไปเป็นหมู่ ต่างสนุกสนานกันทั่วหน้า
ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร
มีความเกี่ยวเนื่องกับศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวพิจิตร
ซึ่งเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450
ครั้งสมัยเจ้าคุณพระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง
และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร ได้กำหนดจัดการแข่งขันขึ้นในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11
ของทุกปี ต่อมาระดับน้ำของแม่น้ำน่านลดลงเร็วกว่าปกติในช่วงเวลาดังกล่าว
ทำให้มีการปรับเปลี่ยนเวลาการจัดงานมาเป็น วันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และในปี พ.ศ.
2524 ซึ่งในอดีตผู้ชนะจะได้รับผ้าห่มองค์หลวงพ่อเพชรเป็นรางวัล
ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัลเป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน
และในปัจจุบันทางจังหวัดพิจิตรได้ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จัดให้มีการแข่งขันเรือยาวประเพณีขึ้นเป็นงานประจำปี
ชิงรางวัลถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อยมา
ขอเชิญชมการถ่ายทอดสด การแข่งขันเรือยาว
ชิงถ้วยพระราชทาน
- วันที่ 31 สิงหาคม -1 กันยายน ณ ลำน้ำน่าน หน้าวัดหัวดง
- วันที่ 7-8 กันยายน 2562 วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น