ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ภัยแล้ง- ลงแขกทอดแหแหล่งน้ำแห่งสุดท้ายคลองข้าวตอก
พิจิตรแล้งจัด เซียนแห ทอดแหบริเวณหน้าฝายน้ำล้นคลองข้าวตอก สร้างรายได้ให้กับชุมชน ประชาชนมีปลาบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้
ประชาชนผู้ที่มีความชำนาญในการหาปลาด้วยการใช้แห หรือที่เรียกว่า เซียนแห จำนวนกว่า 300 คน รวมตัวกันเพื่อทอดแห บริเวณหน้าฝายน้ำล้น คลองข้าวตอก หมู่ 4 ตำบลดงกลาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นจุดที่ยังมีน้ำเหลือขังอยู่และเป็นจุดที่สงวนไว้ของหมู่บ้านในการรักษาพันธุ์ปลา เพื่อรักษาผลประโยชน์ในการหาปลาไว้บริโภคในหมู่บ้าน เปิดให้เซียนแหเข้ามาทอดแห เพื่อหารายได้เข้าหมู่บ้าน โดยตลอดระยะทาง 900 เมตร ของคลองข้าวตอกที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ระดับน้ำเหลือเพียงเมตรเศษ เซียนแหต่างจับจองพื้นที่ตามที่คณะกรรมการหมู่บ้านกำหนดให้เพื่อทอดแหหาปลา ซึ่งแต่ละคนก็สามารถทอดแหได้ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น ปลาสวาย ปลาชะโด ปลาช่อน ขนาดใหญ่ตัวละ 5-10 กิโลกรัม นำไปบริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ในช่วงที่ไม่สามารถหาปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปได้ เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งจนหมด
สำหรับการเปิดให้เซียนแหได้เข้ามาทอดแหบริเวณคลองข้าวตอก เป็นการบริหารจัดการของชุมชน ที่รักษาน้ำ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ จนสามารถสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้าน เนื่องจากการเปิดให้ประชาชนที่สนใจเข้ามาทอดแห เพื่อจับปลาขนาดใหญ่ที่มีอยู่ในลำคลอง เป็นการควบคุมปริมาณปลาให้พอดีกับขนาดของลำคลอง รวมถึงกำจัดปลาชะโด ซึ่งเป็นศัตรูตัวสำคัญของปลาน้ำจืด ประชาชนที่มาทอดแหเพื่อจับปลาสร้างรายได้ให้กับชุมชุนปีล่ะกว่า 60,000 บาท อีกด้วย
นายสายันต์ พันทอง กล่าวว่า เดินทางมาจากอำเภอสากเหล็ก เพื่อมาทอดแห เนื่องจากปีนี้หาแหล่งน้ำที่จะทอดแหยาก เพราะแหล่งน้ำธรรมชาติแห้งจนหมด เมื่อมีการเปิดให้ทอดแหจึงเดินทางมาเพื่อทอดแห ซึ่งก็ไม่ผิดหวัง สามารถทอดแหได้ปลาเป็นจำนวนมาก จากการทอดแหเพียงครั้งเดียวทำให้จับปลาขนาดใหญ่ได้ 5-6 ตัว ซึ่งถือว่าโชคดีมาก ปลาที่ได้ก็จะนำไปบริโภค ส่วนที่เหลือก็จะจำหน่ายให้กับเพื่อนบ้านในหมู่บ้านเนื่องจากขณะนี้ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติหายากมาก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น