ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ขบวนรถอีต๊อกแห่ กฐินสามัคคี
บรรยากาศประเพณีทอดกฐินเต็มไปด้วยสีสัน ที่จังหวัดพิจิตรจัดขบวนแห่องค์กฐินด้วยรถอีต๊อก สร้างบรรยากาศแบบพื้นบ้านวิถีชีวิตเกษตรกรรมและเพิ่มสีสันของงานประเพณี
หลังจากออกพรรษามีประเพณีสำคัญของชาวพุทธนั่นคือประเพณีทอดกฐิน เนื่องจากแต่ละวัดหนึ่งปี จะทอดกฐินได้ครั้งเดียว ตามพุทธบัญญัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยที่จังหวัดพิจิตร ขบวนรถอีต๊อก หรือ รถอีโก้งซึ่งชาวพิจิตรเรียกชื่อรถเครื่องมือทางการเกษตรที่ประชาชนในหมู่บ้านนำรถอีต๊อก จำนวน 15 คัน นำมาแห่องค์กฐิน ซึ่งธนาคารออมสิน ภาค 6 ที่ประกอบด้วยธนาคารออมสินทุกสาขาในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร ลพบุรี และจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเจ้าภาพ นำมาทอด ณ วัดย่านยาว หมู่ที่ 8 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
โดยชาวบ้าน ได้ทำการตกแต่งรถอีต๊อกด้วยสีสันที่สดใส บรรเลงดนตรีด้วยกลองยาวจากผู้สูงอายุในพื้นบ้าน นางรำ และคณะผู้บริหารจากธนาคารออมสินสาขาต่างๆที่ร่วมในขบวนแห่ไปรอบหมู่บ้าน ซึ่งก็สร้างความเป็นกันเองสำหรับชาวบ้านที่นำรถอีต๊อกมารับและสร้างความตื่นเต้นให้กับคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของธนาคารออมสิน ที่บางคนเพิ่งขึ้นรถอีแต๊กเป็นครั้งแรก พร้อมทั้งทำการแห่องค์กฐินรอบพระอุโบสถ จำนวน 3 รอบ ก่อนทำพิธีทอดกฐิน การทอดกฐินในครั้งนี้มียอดรวมรายได้ที่ถวายวัดจำนวน 1,160,000 บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนหกหมื่นบาท)
นางนิตยา มัชฌิมา ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค 6 กล่าวว่า การทอดกฐินของธนาคารมีประจำทุกปี โดยจะเวียนไปตามจังหวัดต่างๆในพื้นที่ 6 จังหวัด ที่ภาค 6 ครอบคลุมอยู่ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการดำเนินการตามนโยบายของธนาคารที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และตอบแทนการไว้ใจของประชาชนกับการบริการของธนาคาร การทอดกฐินในแต่ละปีเราจะนำกฐินไปทอดกับวัดในพื้นที่ชนบทที่ขาดแคลน เพื่อนำรายได้จากการทอดกฐินไปใช้ในการทำนุบำรุงพระศาสนา เนื่องจากวัดในพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่จะประสบปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ในการสร้าง หรือซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆ พร้อมกันนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดี เนื่องจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของธนาคารแต่ละสาขาจะได้มาพบปะและทำบุญร่วมกันทำให้มีโอกาสเจอะเจอกันและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอีกด้วย
พระครูพิธูรธรรมสถิต เจ้าอาวาสวัดย่านยาว กล่าวว่า บุญกฐินถือว่าเป็นบุญใหญ่ แต่ละวัดจะทอดได้ครั้งเดียว ตามพุทธบัญญัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีหลักธรรมแฝงในการทอดกฐินในคือความหมายของธงกฐิน ซึ่งมี 4 แบบ คือ รูปจระเข้ หมายถึง ความโลภ ธงรูปตะขาบ หมายถึง ความโกรธ ธงรูปนางมัจฉา หมายถึง ความหลง และธงรูปเต่า หมายถึง สติ ส่วนรายได้ที่ได้จากการทอดกฐินของคณะศรัทธาที่นำมาทอดถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะกับวัดในพื้นที่ชนบทที่จะนำไปใช้ในการสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญในวัด รายได้ครั้งนี้จะนำไปสบทบทุนในการก่อสร้างศาลาธรรมสังเวช เพื่อใช้ประโยชน์สาธารณะต่อไป
สำหรับรถอีต๊อก หรือ รถอีโก้ง ที่ชาวพิจิตรเรียกนั้น เป็นเครื่องมือการเกษตรที่มีความสำคัญเนื่องจากใช้ในการทำนาทำสวน และมีการปรับเปลี่ยนเป็นพาหนะในการสัญจรโดยมีการนำกระบะพ่วงท้าย เพื่อใช้ในการเดินทาง รวมไปถึงบรรทุกสิ่งของต่างๆ ผลผลิตทางการเกษตร การนำรถอีต๊อก หรือรถอีโก้งมาตกแต่งเป็นขบวนแห่องค์กฐิน จึงเป็นการสร้างสีสันแบบพื้นบ้านเป็นการสร้างความประทับใจทั้งประชาชนในพื้นที่และเจ้าภาพที่เดินทางมาร่วมทอดกฐินในครั้งนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น