ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
หิ่งห้อยหลายหมื่นตัวส่องแสงกลางทุ่งนาที่พิจิตร
ชาวบ้านตะลึงแห่ชมหึ่งห้อยหลายหมื่นตัว ส่องแสงเรืองรองกลางทุ่งนาร้าง ทั้งที่ไม่มีต้นลำภู และพบหิ่งห้อยเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากพบเมื่อปีที่ผ่านมากว่าแสนตัว คาดเพิ่มขึ้นเรื่อยจนกว่าจะถึงเดือนธันวาคม
ที่จังหวัดพิจิตร ปรากฏการณ์หิ้งห้อยจำนวนมากหลายหมื่นตัวรวมตัวกันที่ทุ่งนาร้างในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านโฉง ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โดยเมื่อคืนที่ผ่านมา มีชาวบ้านจำนวนมาก พากันเดินทางไปชมหิ่งห้อย ที่บริเวณหลังบ้านของ นายนิกร วงษ์โพธิ์ อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 22/1 หมู่ 2 บ้านโฉง ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเปิดเป็นอู่ซ่อมรถ และด้านหลังบ้านเป็นทุ่งนาร้างที่ถูกน้ำท่วมขัง และมีต้นข้าวขึ้นอยู่ประปราย โดยบริเวณทุ่งนากว้างประมาณ 13 ไร่ ได้มีหิ่งห้อยหลายหมื่นตัว บินวนส่งแสงระยิบระยับ อยู่เหนือต้นข้าว ทั่วบริเวณ เมื่อบวกกับความมืดทำให้มองคล้ายดวงดาวที่กำลังส่งแสงระยิบระยับ ไปทั่วท้องทุ่งนา ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามสำหรับผู้ที่เดินทางมาชม
นายสมคิด ทองละมูล อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 กล่าวว่า พื้นที่เป็นพื้นที่ของญาติที่ตนเองเช่าเพื่อทำนา ช่วงนี้เป็นช่วงที่หยุดทำนาเนื่องจากเกรงว่าน้ำจะไม่พอ ทำให้นามีพื้นที่รกร้าง มีน้ำขังและมีหญ้าระมานเกิดขึ้น เมื่อกลางเดือนตุลาคมเริ่มมีหิ่งห้อยในแปลงนาแต่ยังไม่มากนัก และเริ่มเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนมีหลายหมื่นตัวในช่วงนี้ ในแต่ละคืนหิ่งห้อยจะออกมารวมตัวกันจำนวนมากโดยจะเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 น. ไปจนถึงเวลาประมาณ 22.00 น. และจากการรวมตัวกันจำนวนมากทำให้มีความสวยงามจากแสงระยิบระยับของดวงไฟในตัวหิ่งห้อยสร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น
สำหรับการพบหิ่งห้อยในพื้นที่จังหวัดพิจิตรเริ่มพบจำนวนมากเมื่อปี 2557 ที่บริเวณดังกล่าวจะมีหิ่งห้อยมารวมตัวกันจำนวนมากกว่าแสนตัว ระยะเวลาหิ่งห้อยจะอยู่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะเริ่มเห็นจำนวนมากตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคม โดยปีที่ผ่านมาในแต่ละคืนจะมีประชาชนที่สนใจทั้งในจังหวัดพิจิตร และจากทั่วประเทศมาเที่ยวชมเฉลี่ยวันล่ะ 400-500 คน
ส่วนจุดบริเวณที่ชมหิ่งห้อยได้อย่างใกล้ชิดและสวยงามจะเป็นบริเวณบ้านของนายนิกร ซึ่งเปิดเป็นอู่ซ่อมรถ อยู่บริเวณด้านหลังที่ทำการเทศบาลตำบลดงป่าคำ ซึ่งเจ้าของบ้านบอกว่า ประชาชนที่สนใจที่จะชมหิ้งห้อยสามารถที่จะเข้ามาชมในบริเวณบ้านของตนได้ วิธีการชมขอให้ความร่วมมือขอให้ชมด้วยความเรียบร้อย อย่าส่งเสียงดัง ต้องดับไฟทุกดวงให้มืด จึงจะเห็นแสงของหิ่งห้อย ถ้าเปิดไฟดวงใดดวงหนึ่งก็จะไม่เห็น เนื่องจากแสงไฟที่เปิดจะสว่างกว่าแสงของหิ่งห้อย แต่การถ่ายภาพนั้นจะมองไม่ค่อยเห็นต้องใช้กล้องคุณภาพสูง และจากการพบหิ่งห้อยจำนวนมากสร้างความตื่นเต้นให้กับประชาชนที่พบเห็นเพราะที่ผ่านมาการชมหิ่งห้อยต้องเดินทางไปดูถึงอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การถ่ายภาพเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากกล้องทั่วไปไม่สามารถมองเห็นภาพของแสงหิ่งห้อย เหมือนตาของมนุษย์เห็น ต้องใช้กล้องที่มีความสามารถสูงจึงจะมองเห็น โดยได้ทดลองจับหิ่งห้อยมาขังไว้ในแก้วใส เพื่อถ่ายภาพขนาดลำตัว พบว่าขนาดลำตัวใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา เมื่อปิดไฟ มันจะส่งแสงออกมาที่ด้านท้อง แต่เพื่อเปิดไฟแสงจะหายไป และเมื่อถ่ายภาพเสร็จได้ปล่อยให้หิ่งห้อยกลับเข้าฝูงไปเหมือนเดิม
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า หิ่งห้อย หรือ ทิ้งถ่วง เป็นแมลงปีกแข็งในวงศ์ Lampyridae ในอันดับ Coleoptera ทั่วทั้งโลกมีหิ่งห้อยประมาณ 2,000 ชนิด คำว่า “หิ่งห้อย” นี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายไว้สั้นๆ ว่า แมลงชนิดหนึ่ง มีแสงเรืองๆ ที่ก้น
ทิ้งถ่วงตัวเต็มวัยเพศผู้มีปีก ส่วนเพศเมียมีทั้งมีปีกและไม่มีปีก ทิ้งถ่วงมีอวัยวะทำแสงอยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่าง เพศผู้มีอวัยวะทำแสง 2 ปล้อง เพศเมียมี 1 ปล้อง แต่บางชนิดตัวเต็มวัยเพศเมียมีรูปร่างลักษณะคล้ายหนอน มีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของทิ้งถ่วงเกิดจากปฏิกิริยาของสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจน มีเอนไซม์ลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate,ATP) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ทิ้งถ่วงกะพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์และสื่อสารซึ่งกันและกัน
หิ่งห้อย นับว่าเป็นแมลงที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติได้ โดยเฉพาะมีคุณสมบัติที่สามารถใช้เป็น “ตัวห้ำ” ในการควบคุมศัตรูพืชตามหลักการทางชีวภาพ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่การเกษตรกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น