ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงเขื่อนใหญ่ลดการระบายน้ำ
จังหวัดพิจิตร เตรียมแผนรับมือภัยแล้งในเขตชลประทาน หลังเขื่อนใหญ่ลดการระบายน้ำทำการเกษตรลง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ไม่มีน้ำเข้าเขื่อน พร้อมเตือนชาวนา หากไม่มีฝนตกขอให้เลื่อนการทำนา
ที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วย ชลประทานพิจิตร นายอำเภอและหน่วยงานราชการ ร่วมกันวางแผนเตรียมการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งในเขตชลประทาน หลังจากปริมาณน้ำในเขื่อนทั้ง 3 เขื่อนตอนบน ลดการระบายน้ำต้นทุนใช้ในการเกษตรลง เพราะมีปริมาณน้ำเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากฝนที่ทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนไม่เพิ่มขึ้น
สำนักงานชลประทานพิจิตร ได้รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำ 31 เปอร์เซ็นต์ ใช้การเกษตรได้ 4 เปอร์เซ็นต์ ลดการระบายจากเดิม 20 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เหลือเพียง 17 ล้าน ลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 38 เปอร์เซ็นต์ ใช้การเกษตรได้ 12 เปอร์เซ็นต์ ลดการระบายจากเดิม 33ล้าน ลูกบาศก์เมตร เหลือ 31 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ ระบายออก 3 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากสถานการณ์ฝนที่ทิ้งช่วงลงในขณะนี้และไม่มีน้ำเติมในเขื่อน จะส่งผลให้เขื่อนสามารถระบายน้ำช่วยเกษตรกรได้นั้นเหลือเพียงอีก 20 วัน
จังหวัดพิจิตร เตรียมเร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรชาวนาเลื่อนทำการเพาะปลูกข้าวหากไม่มีฝนตก เพื่อป้องกันการเสียหายจากภัยแล้ง โดยเฉพาะในเขตชลประทานที่มีอยู่ประมาณ 180,000 ไร่ มีเกษตรกรทำนาไปแล้ว 17,000 ไร่เหลือพื้นที่รอทำนา 150,000 ไร่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น