ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร พิจิตร แม่น้ำยมตอนกลาง แห้งต่อเนื่อง เห็นพื้นทรายในแม่น้ำ ชาวบ้านระบุ ปีนี้แห้งแล้งรุนแรง ต่างกับช่วงฤดูฝนของทุก...
-
ชาวตลาดเทศบาลเมืองพิจิตรร่วมกันจัดงานงิ้วประจำปี 10 วัน 10 คืน มีการแสดง เอ็งกอพะบู๊ จากเยาวชนจังหวัดพิจิตร ชาวตลาด...
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร ร่วมกับ ข้าราชการนักเรียนและ ประ ชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรม ปลูกป่า ปล่อยพันธุ์ปลา ...
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร พิจิตร พบเด็กนักเรียนหญิงอายุ 14 ปี กตัญญูดูแลพ่อพิการทางสายตา ออกรับจ้างตัดอ้อย 2 พ่อ อยากให้พ่อมีสายตาปกติ ส่ว...
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ชาวบ้านไม่เอาฝายยางกั้นแม่น้ำยม
ประชาชนตำบลไผ่ท่าโพลงความเห็นควรสร้างประตูระบายน้ำหรือเขื่อนขนาดเล็ก แทนฝายยางเพื่อกั้นแม่น้ำยม เชื่อเกิดประโยชน์มากกว่าการสร้างฝายยาง ชี้ที่ผ่านมาฝายยางไม่สร้างประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ
ที่ห้องประชุมภายในองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ประชาชนที่เป็นตัวแทนในพื้นที่ตำบลไผ่ท่าโพ ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนประชาชน กว่า 30 คน ได้เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่สำนักงานชลประทานที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ ในกรณีแบบของการสร้างอาคารบังคับน้ำในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านลำนัง ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง โดยเจ้าหน้าที่ได้แสดงถึงผลดีและผลเสียของอาคารบังคับน้ำ 2 แบบ คือ ฝายยางและประตูระบายน้ำ หรือ ปตร. และขอความคิดเห็นว่าประชาชนต้องการอาคารบังคับน้ำแบบใด
หลังการแสดงความเห็น ประชาชนเห็นควรสร้างอาคารบังคับน้ำในลักษณะประตูระบายน้ำคอนกรีต หรือ ปตร. เนื่องจากเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่าการสร้างเป็นฝายยาง ที่ใช้งานได้ไม่ดีเท่าที่ควรโดยยกตัวอย่าง ฝายยาง 3 แห่ง ที่มีการสร้างในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ในเขตอำเภอโพทะเล 2 แห่ง อำเภอสามง่าม 1 แห่ง ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ได้ และมักเกิดปัญหาการชำรุดเสียหายของตัวเขื่อนที่เป็นยางอยู่เป็นประจำ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ประชาชนจึงเห็นควรให้มีการสร้างเป็นประตูระบายน้ำหรือเขื่อนขนาดเล็ก ซึ่งคาดว่าจะได้ประโยชน์มากกว่าแม้จะต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากเดิม ฝายยางจะใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1 แห่ง ประมาณ 300 ล้านบาท ส่วนประตูระบายน้ำจะใช้งบประมาณแห่งละ 500 ล้านบาท เจ้าหน้าที่จากสำนักงานชลประทานที่ 3 จึงรับเรื่องเพื่อดำเนินการต่อไป
สำหรับแม่น้ำยม เป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศที่ไม่มีเขื่อนขนาดใหญ่ในการกักเก็บน้ำ มีเพียงฝายยางที่กั้นน้ำเพียงไม่กี่แห่ง ที่ผ่านมาเป็นแม่น้ำที่ประสบปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก ส่งผลกระทบกับประชาชนตลอด 2 ฝั่งริมแม่น้ำ มีระยะทาง 127 กิโลเมตร ที่ไหลผ่านพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดพิจิตร เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากเป็นประจำทุกปี การสร้างประตูระบายน้ำในลักษณะเขื่อนขนาดเล็ก จึงเป็นความหวังของประชาชนที่จะสามารถแก้ปัญหาได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น