ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานค...
-
ถนนอุโมงค์ต้นสักความยาวกว่า 6 กิโลเมตร ชุ่มชื่นสวยงามฤดูฝน สร้างความประทับใจให้กับผู้สั ญจร และ เป็นแหล่งอนุรักษ์ไม้หายาก...
-
เกษตรกร ชาวสวนมะยงชิดพิจิตร เผยเคล็ดลับ ที่ทำติดต่อกันมา 2-3 ปี ติดหลอดไฟให้กับต้นมะยงชิด จนทำให้มีผลผลิตมาก ออกจำหน่าย ...
-
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสู...
-
ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร มะเขือที่ปลูกไว้สร้างรายได้แทนการปลูกข้าวยืนต้นตาย ขณะที่ยอดรวมจังหวัดพิจิตรมีพืชไร่เสียหายแล้วก...
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ผู้ปกครองนำเด็กเล็ก รอบเหมืองทอง ตรวจเลือด
ผู้ปกครองนำเด็กซึ่งอาศัยอยู่รอบเหมืองทองเข้ารับการตรวจเลือดจำนวนมาก หลังครั้งที่ผ่านมาพบเด็กร้อยละ 70 มีสารโลหะหนักในร่างกายสูง หวั่นกระทบคุณภาพชีวิตในอนาคต
ที่วัดดงหลง ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ปกครองทั้งในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ นำเด็กเข้ารับการตรวจเลือดและปัสสาวะ ซึ่งคณะนักวิชาการมหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรมร่วมกับ DSI และ กระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งหน่วยราชการในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก ลงพื้นที่เจาะเลือดและตรวจปัสสาวะประชาชนที่เคยพบว่ามีความผิดปกติและมีสารโลหะหนักในร่างกายเกินค่ามาตรฐาน ประชาชนที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง และเด็กที่มี DNA ผิดปกติ รวมถึงเด็กที่ต้องการตรวจใหม่ โดยบรรยากาศทั่วไปมีประชาชนที่อยู่รอบเหมืองเดินทางมาเข้ารับการตรวจในวันแรกมากว่า 250 คน เป็นเด็กจำนวน 50 คน ซึ่งเป็นปริมาณที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ว่าคาดว่าจะตรวจไม่เกิน 200 คน
นางมาลี สุวรรณ์ อายุ 32 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ กล่าวว่า วันนี้เดินทางมาตรวจโดยตรวจตนเองและครอบครัว รวมไปถึงลูกชายอายุ 2 ขวบ 6 เดือน ที่พบว่ามีแมงกานีสสูงในร่างกาย ที่ผ่านมาสงสัยว่าสารโลหะหนักเกิดขึ้นจากอะไรเพราะตนเองและครอบครัวซึ่งอาศัยอยู่ห่างจากเหมืองทองคำเพียง 300 เมตร พบสารโลหะหนักทั้งหมด
ดร.สมิธ ตุงคะสมิต อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การลงพื้นที่ของคณะทำงานเป็นไปตามนโยบาย 5 ฝ่ายที่ตั้งขึ้นเพื่อร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยลงพื้นที่ตรวจซ้ำหลังจากครั้งที่ผ่านมามีการดำเนินการตรวจไปแล้ว 800 ตัวอย่าง ซึ่งพบว่าส่วนมากมีสารโลหะหนัก เช่น แมงกานีสและสารหนูสูงกว่ามาตรฐานกำหนด สิ่งที่คณะทำงานเป็นห่วงคือการพบสารโลหะหนักในเด็ก เพราะครั้งที่ผ่านมาเราตรวจพบมีเด็กมีสารโลหะหนักในร่างกายจำนวนมากโดยจาก 100 ตัวอย่าง พบ 70 ราย ที่มีสารโลหะหนักเกินกว่ามาตรฐานกำหนด การลงพื้นที่ครั้งนี้เป็นการตรวจซ้ำเพื่อเป็นข้อมูลให้กับคณะกรรมการ 5 ฝ่ายนำไปใช้ในการแก้ปัญหา โดยเราจะนำเลือดและปัสสาวะส่งพิสูจน์ที่โรงพยาบาลรามาธิบดีและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลว่าถูกต้องเที่ยงตรง โดยคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนก็จะทราบผล
ดร.สมิธ กล่าวอีกว่า การพบสารโลหะหนักทั้งแมงกานีสและสารหนู หากมีปริมาณมากในเด็ก ก็จะส่งผลกระทบโดยเฉพาะระยะยาว ที่ร่างกายของเด็กจะไม่สมบูรณ์ มีโอกาสที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงโรคมะเร็งสูง อีกทั้งกระทบกับการเจริญพันธุ์ในระยาว ซึ่งหากมีการสะสมเพิ่มขึ้นเกินกว่ามาตรฐานก็จะยิ่งส่งผลกับเด็กๆรุนแรงและเร็วขึ้น
สำหรับการลงพื้นที่เพื่อเจาะเลือดประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองทองเป็นไปตามมาตรการการแก้ปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองทองคำ ของบริษัท อัครารีซอสเซส จำกัด (มหาชน) ที่ประชาชนสงสัยว่าเป็นต้นเหตุของการเกิดปัญหา โดยเฉพาะต่อสุขภาพประชาชน ที่มีการตรวจพบสารโลหะหนัก เช่น สารหนู แมงกานีส จนเป็นที่มาของการคลี่คลายปัญหาโดยการเจาะเลือด และตรวจปัสสาวะประชาชน โดยทำการตรวจระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม ซึ่งคาดว่าจะมีประชาชนไม่ตกว่า 600 ราย เข้ารับการตรวจในครั้งนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น