ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร พิจิตร แม่น้ำยมตอนกลาง แห้งต่อเนื่อง เห็นพื้นทรายในแม่น้ำ ชาวบ้านระบุ ปีนี้แห้งแล้งรุนแรง ต่างกับช่วงฤดูฝนของทุก...
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร ร่วมกับ ข้าราชการนักเรียนและ ประ ชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรม ปลูกป่า ปล่อยพันธุ์ปลา ...
-
พิจิตรทีวี ข่าวพิจิตร พิจิตร พบเด็กนักเรียนหญิงอายุ 14 ปี กตัญญูดูแลพ่อพิการทางสายตา ออกรับจ้างตัดอ้อย 2 พ่อ อยากให้พ่อมีสายตาปกติ ส่ว...
-
ชาวตลาดเทศบาลเมืองพิจิตรร่วมกันจัดงานงิ้วประจำปี 10 วัน 10 คืน มีการแสดง เอ็งกอพะบู๊ จากเยาวชนจังหวัดพิจิตร ชาวตลาด...
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ข้าวเม่าพอก "เงินล้าน" กับ ประเพณีแข่งเรือยาว
การแข่งขันเรือยาว ถือว่าเป็นกีฬายอดนิยมของจังหวัดพิจิตร ซึ่งมีสนามมาตรฐานในการแข่งขันกว่า 50 สนาม นอกจากความสนุกสนานของการแข่งขันเรือยาวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่คู่กับงาน อาหารอร่อยประจำถิ่นของแต่ละแห่ง เช่นที่วัดหาดมูลกระบือ ตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ขนมขึ้นชื่อ คือ "ข้าวเม่าพอก" ขนมไทยแสนอร่อย ที่ทุกคนมาเยือนต้องแวะชิมรส
ชาวบ้านจาก 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลไผ่ขวางและตำบลย่านยาว อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร ต่างร่วมแรงร่วมใจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ในการทำ"ข้าวเม่าพอก"ขนมไทยรสชาติอร่อยขึ้นชื่อของวัดหาดมูลกระบือ เพื่อนำออกจำหน่ายให้กับประชาชนที่มาเที่ยวชมงานประเพณีแข่งขันเรือยาวในสนามต่างๆของจังหวัดพิจิตร ราคาจำหน่าย แพละ 25 บาท เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนที่เดินทางมาเที่ยวชมแข่งเรือเพื่อบริโภคและยังเป็นของฝาก แต่ละปีจะสร้างรายได้ให้กับวัดเป็นเงินกว่า 1 ล้านบาท
ประวัติความเป็นมาของข้าวเม่าพอกวัดหาดมูลกระบือ เริ่มต้นเมื่อปีพุทธศักราช 2503 ประชาชนในพื้นที่จะนำข่าวเม่าพอกมาถวายวัดซึ่งจะมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูการแข่งขันเรือยาวประเพณี ต่อมา "คุณยายเพรา นครพุ่ม"แม่ค้าขายขนมข้าวเม่าพอกที่หน้าวัดหาดมูลกระบือ ได้ริเริ่มการทอดเพื่อจำหน่าย นำรายได้มอบให้กับวัด เนื่องจากเห็นว่าประชาชนที่มางานต้องการที่จะลิ้มรสข้าวเม่าพอกของวัดหาดมูลกระบือ "พระครูพิเชษฐธรรมคุณ" อดีตเจ้าอาวาส จึงได้รวมกลุ่มชาวบ้าน 30-100 คน ทำข้าวเม่าพอกจำหน่าย เพื่อนำเงินที่ได้มาร่วมจัดงานประเพณีแข่งขันเรือยาวซึ่งจะต้องใช้ทุนเป็นจำนวนมาก งานประเพณีแข่งขันเรือยาววัดหาดมูลกระบือจะจัดช่วงกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี และใช้ในการบูรณศาสนสถานของวัด ตั้งแต่นั้นมา จึงเกิดเป็นประเพณีก่อนวันงานใหญ่ ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำข้าวเม่าพอกที่วัดและจำหน่ายในงานแข่งขันเรือยาวของวัดหาดมูลกระบือเองและวัดต่างๆกว่า 10 วัด ที่มีการจัดการแข่งขันเรือยาว ทั้งในเขตจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับวัด โดยปีที่ผ่านมามีรายได้เข้าวัดกว่า 1,00,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)
นางปาน เปียพัฒน์ อายุ 80 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ตำบลไผ่ขวาง ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่บุกเบิกการทำข้าวเม่าพอก กล่าวว่า ตนเองร่วมกับเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำขนมข้าวเม่าพอกเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 12 ปี การมาช่วยกันทำขนมข้าวเม่าพอกเป็นการรวมใจกันของชาวบ้านเพื่อทำบุญหารายได้เข้าวัด ในแต่ละปีจะจำหน่ายทั้งที่วัดหาดมูลกระบือเองและวัดต่างๆที่มีการจัดการแข่งขันเรือยาวประมาณ 10 วัด ก็จะมีรายได้เข้าวัดกว่า 1 ล้านบาท สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ก็จะมีทั้งการบริจาคจากชาวบ้านและวัตถุดิบที่วัดต้องจัดซื้อ เหตุผลที่ข้าวเม่าพอกของวัดหาดมูลกระบืออร่อย น่าจะมาจากความสด ถึงเครื่อง แต่ละปีเราต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมาก เช่น มะพร้าวต้องใช้ประมาณ 16,000 ลูก กล้วยไข่ ประมาณ 20,000 หวี
สำหรับการทำขนมข้าวเม่าพอกเพื่อจำหน่ายในงานแข่งขันเรือยาวเป็นสิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่อดีตเจ้าอาวาสรูปเดิม "พระครูพิเชษฐธรรมคุณ" ซึ่งมรณภาพไปเมื่อสามปีที่ผ่านมาปัจจุบันคณะศิษย์ได้เก็บสังขารไว้ในโลงแก้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกที่สังขารไม่เน่าไม่เปื่อย ผิวพรรณยังคงมีลักษณะเหมือนกับมนุษย์ปกติทั่วไปไม่แห้งหรือยุบ เส้นผม ขนตา เล็บ ยังคงอยู่ครบ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน
และนี่คือ "ข้าวเม่าพอก" ขนมไทยที่นอกจากจะสร้างความอิ่มอร่อยให้กับผู้ที่ลิ้มรสแล้ว ยังสร้างบุญให้กับผู้บริโภค เนื่องจากรายได้นำไปใช้ในการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานและการบูรณะศาสนสถานของวัด จึงนับได้ว่าเป็นขนมที่แฝงไว้ด้วยประโยชน์ ทั้งความสามัคคีจากความร่วมมือของชาวบ้าน การสืบสานประเพณีแข่งขันเรือยาว การร่วมทำนุบำรุงพระศาสนา การรักษาวัฒนธรรมการทำขนมไทย และความอิ่มอร่อยของผู้รับประทาน และผู้ที่ได้รับเป็นของฝาก "อิ่มทั้งท้อง อิ่มทั้งบุญ"
แม่น้ำยมเพิ่มขึ้น จากน้ำฝนที่ตกลงมาในระยะนี้
ปริมาณน้ำสะสมที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ทุ่งนาไหลลงสู่แม่น้ำยม ส่งผลให้แม่น้ำยมที่แห้งยาวนานกว่า 8 เดือน เริ่มกลับมามีน้ำอีกครั้ง หวั่นแห้งซ้ำ เนื่องจากไม่มีระบบเก็บกักน้ำขนาดใหญ่
ปริมาณน้ำจากทุ่งต่างๆตลอดริมสองฝั่งแม่น้ำ ซึ่งเกิดจากการสะสมของฝนที่ตกในพื้นที่ใกล้เคียงแม่น้ำยม ได้ไหลลงสู่แม่น้ำยม ส่งผลให้แม่น้ำยมที่ไหลผ่าน 4 อำเภอของจังหวัดพิจิตร คือ อำเภอสามง่าม โพธิ์ประทับช้าง บึงนาราง และอำเภอโพทะเล กลับมามีน้ำอีกครั้ง น้ำมีลักษณะสีแดงขุ่น ได้พัดเอากิ่งไม้และท่อนไม้ไหลลงมาสู่แม่น้ำจำนวนมาก ทำให้แม่น้ำยมคล้ายกับแก่งน้ำ
สำหรับน้ำที่มีปริมาณมากขึ้นนั้น ทำให้แม่น้ำยมที่เคยแห้งขอดจนไม่มีน้ำกลับมามีน้ำอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามหากฝนไม่ตกต่อเนื่อง ก็เกรงว่าแม่น้ำยมจะแห้งขอดอีก เนื่องจากแม่น้ำยมไม่มีอาคารบังคับน้ำขนาดใหญ่ ที่จะสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ ทำให้น้ำไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างอย่างรวดเร็ว
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ชาวนาลอกคลองส่งน้ำ เพื่อเปิดทางน้ำเข้านาข้าว
ชาวนากำจัดวัชพืชในคลองส่งน้ำ เพื่อเปิดทางน้ำให้ไหลเข้านาข้าวที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ขณะที่โรงสูบน้ำพลังงานไฟฟ้า เดินเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือนาข้าว เกือบ 1 พันไร่
โรงสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ทำการเดินเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำน่าน ขึ้นมาหล่อเลี้ยงนาข้าวที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ ควบคุมช่วยเหลือนาข้าวเกือบ 1 พันไร่ ที่เริ่มทำการเพาะปลูก ขณะที่ชาวนาเร่งกำจัดวัชพืชในคลองส่งน้ำข้างแปลงนา เพื่อเปิดทางน้ำให้ไหลเข้าแปลงนาได้สะดวก หลังจากน้ำที่ไหลไปไม่ถึงแปลงนาข้าว เนื่องจากมีเศษวัชพืชกีดขวาง
สำหรับโรงสูบน้ำไฟฟ้าจะใช้น้ำต้นทุนจากแม่น้ำน่าน ที่ไหลผ่าน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพิจิตร ตะพานหิน และอำเภอบางมูลนาก แม่น้ำน่านในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ถือว่าเป็นแหล่งน้ำต้นทุนบนผิวดินที่สำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรฝั่งทางทิศตะวันออกของจังหวัดพิจิตร
วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558
เชิญร่วมงาน ประเพณีแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี วันที่ 8 และ 9 สิงหาคม 2558 ณ ลำน้ำน่าน หน้าวัดดาน ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง และ คณะกรรมการวัดดาน ขอเชิญร่วมงานประเพณีแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี วันที่ 8 และ 9 สิงหาคม 2558ณ ลำน้ำน่าน หน้าวัดดาน ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
ชมการแข่งขันสุดยอดเรือยาวจากทั่วประเทศ พบ เรือยาวใหญ่ เรือยาวกลาง เรือยาวเล็ก พลาดไม่ได้ การแข่งขันระหว่างเทพอัมพรินทร์ แชมป์เก่า จ.พิษณุโลก ปะทะ เรือแม่โขงเอกนาวา อดีตแชมป์หลายสนาม จาก จ.นครปฐม ชิงเงินรางวัล 2 แสนบาท พบกับ
- เรือพญาชาละวัน สิงห์ลีโอ แชมป์ถ้วยพระราชทาน วัดท่าหลวง ปี 2557
- เทพนรสิงห์ 88 พยัคร้ายไม่มีวันตาย แชมป์เก่า จ.สระบุรี
- เรือพรพระแก้ว แชมป์หลายสนาม จากวัดพระนอนจักรษี จ.สิงห์บุรี
- เรือศรพรหมมาศ เรือดังในอดีต จากวัดวังกลม
- เรือพันแสง เรือน้องใหม่ไฟแรง จากวัดยางคอยเกลือ
- เรือจักนารายณ์ เรือดีจากลุ่มน้ำป่าสัก อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
- เรือแม่ขวัญมงคลทอง อดีตแชมป์เรือดัง พร้อมแจ้งเกิดในปีนี้ จากวัดราชช้างขวัญ
- เรือเทพมาลัยทอง สิงห์ร้ายจากลุ่มน้ำยม วัดรายชะโด
- เรือขุนไกร อดีตเรือดังที่หาตัวจับยาก จากวัดหงษ์
- เรือเมขลา เรือขวัญใจวัดหาดมูลกระบือ
- เรือพรเมธี เรือเก่งจากวัดท่าฬ่อ
- เรือสิงห์เวียงสา เรือขวัญใจชาววัดหัวดง
ขอเชิญไหว้พระปิดทอง หลวงพ่อหิมวันต์ สักการะสังขาร พระครูวิจักษณ์กันตธรรม หรือ หลวง พ่อ ออด มรณภาพ 10 ปี สังขารไม่เน่า ไม่แห้ง ไม่ยุบ ใบหน้ายังอิ่มเอม แปรธาตุขึ้นเป็นสีเขียวสุดอัศจรรย์
เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม เป็นต้นไป มีสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าราคาถูกจากโรงงานมาจำหน่าย มีมหรสพให้ชมฟรีตลอดงาน พบกับภาพยนต์ นเรศวร ภาค 4 - 5
ประกบคู่เรือ โดย กำนันบุญมี แก้วกำพล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)