รายการถ่ายทอดสด



เทปบันทึกรายการ : ผ่านทาง YouTube

ข่าวเด่น ในรอบ 7 วัน

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

พิจิตรถนนพังจากน้ำท่วมนานเสียหายกว่า 20 ล้านบาท

 


พิจิตรความเสียหายหลังน้ำท่วมนาน ถนนสายหลักทั้งคอนกรีต ถนนเพื่อการเกษตรถูกน้ำท่วมชำรุดเสียหายมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

พิจิตรนายเดช์วิทย์ สิงห์วิโรจน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์ประทับช้าง ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนคอนกรีตซึ่งเป็นถนนสายหลักในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเสียหายจากอุทกภัยน้ำแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วมยาวนานกว่า 3 เดือน หลังสถานการณ์คลี่คลายสร้างความเสียหายกระแสน้ำได้กัดเซาะผิวถนนคอนกรีตที่สร้างมากว่า 20 ปี เสียหายทรุดตัว แตกเป็นร่องลึก เสี่ยงอันตรายกับประชาชนที่สัญจร ส่วนถนนที่เป็นถนนดินลูกรังที่ใช้เดินทางเพื่อการเกษตรน้ำได้ตัดขาดจนไม่สามารถสัญจรได้ เบื้องต้นพบถนนลาดยางเสียหาย 1 เส้น ถนนคอนกรีต 4 เส้น ถนนดินลูกรัง 15 เส้น มูลค่าความเสียหายกว่า 20 ล้านบาท 

นายเดช์วิทย์ สิงห์วิโรจน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลโพธิ์ประทับช้าง ระบุว่า “จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะคลี่คลายจนใกล้เข้าสู่ภาวะปกติแต่ผลกระทบเนื่องจากน้ำที่ท่วมยาวนานกว่า 3 เดือนส่งผลให้สร้างความเสียหายถนนสายหลักในพื้นที่เขตเทศบาล โดยเฉพาะถนนคอนกรีตที่สร้างมากว่า 20 ปี ได้รับความเสียหายจำนวนมากจนเสี่ยงอันตรายกับประชาชนที่สัญจร การแก้ปัญหาเบื้องต้นเทศบาลโพธิ์ประทับช้างจะเร่งทำการซ่อมแซม เบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้สัญจรชั่วคราวและจะได้ประสานงาน เพื่อรับการอุดหนุนงบประมาณในการก่อสร้างทดแทนต่อไป

/////////////


วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

พิจิตรน้ำท่วมนานเหลาเบ็ดจำหน่ายสร้างรายได้

 


พิจิตรน้ำท่วมนานกว่า 2 เดือน พลิกวิกฤติทำเบ็ดอุปกรณ์จับสัตว์น้ำสร้างรายได้ในช่วงประสพอุทกภัย

พิจิตรสถานการณ์อุทกภัยน้ำพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมในเขตตำบลวังจิก ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง น้ำยังท่วมขังบริเวณทุ่งนาและพื้นที่ลุ่มต่ำระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร แม้ว่าระดับน้ำจะลดลงแต่ก็เป็นไปอย่างช้าๆ ประชาชนในพื้นที่พลิกวิกฤติเป็นโอกาสทำคันเบ็ดจากไม้ไผ่จำหน่ายสร้างรายได้ โดยชาวบ้านจะตัดไม้ไผ่ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินำมาเหลาเป็นคันเบ็ด และซื้อเชือก ตัวเบ็ด จากร้านค้ามาประกอบที่ชาวบ้านเรียกว่าเข้ากระตรุดเบ็ดจากนั้นจะผูกติดกับคันเบ็ด ขายส่งให้กับร้านค้าคันละ 2 บาท และขายปลีกให้กับชาวบ้านที่สนใจคันละ 3 – 5 บาท ตามขนาดของเบ็ด วันนึ่งสามารถทำคันเบ็ดได้ 50 ถึง 100 คัน สร้างรายเสริมในช่วงน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี


นายหวั่น เถาวัลย์ ชาวบ้านหมู่ที่ 1 ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ทำคันเบ็ดเพื่อขายส่งให้กับพ่อค้าที่สั่งคันเบ็ดไปเพื่อจำหน่าย โดยขายส่งคันละ 2 บาท ต้นทุนแทบจะไม่มีเนื่องจากไม่ไผ่จะตัดจากกอไม่ไผ่ในหมู่บ้าน จะมีที่ต้องซื้อก็จะเป็นเบ็ด กล่องละ 35 บาท มี 100 ตัว และเชือกซึ่งราคาก็ไม่แพง สิ่งที่จะต้องลงทุน คือ แรงที่ต้องลงแรงในการทำ ใช้เวลา 3 ถึง 4 วัน สามารถทำคันเบ็ดได้ 300 คัน จำหน่ายให้กับพ่อค้า หรือ ชาวบ้านที่สนใจนำไปปักเพื่อจับสัตว์น้ำ เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งในช่วงฤดูน้ำหลากได้เป็นอย่างดี


/////////////


วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พระพันปีหลวง พระราชทานชุดทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลพิจิติร

 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุด PAPR ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 


ที่โรงพยาบาลพิจิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุด PAPR รุ่น Easy Clean จำนวน 456 ชุดให้แก่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 76 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) 


โดยทางจังหวัดพิจิตร  นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อม นายกมล กัญญาประสิทธิ์นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิจิตร  ได้ประกอบพิธีการรับมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ชุด PAPR  ให้กับ โรงพยาบาลพิจิตร ได้รับพระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 6 ชุด ยังความปลื้มปิติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ทรงมีความห่วงใยในความเดือดร้อนของพสกนิกรชาวไทย จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกทั้งยังเป็นขวัญและกำลังใจแก่คนพิจิตรตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลพิจิตรอีกด้วย


สำหรับจังหวัดพิจิตร พบผู้ป่วย จากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ของ สะสม จำนวน  191 ราย รักษาหาย แล้ว 150 ราย อยู่ระหว่างรักษา 38 ราย และ เสียชีวิตสะสม  3  ราย


วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2564

พิจิตรแอร์บัสและเดินเท้าฉีดยาฆ่าเชื้อกันโควิด19


พิจิตรอำเภอโพธิ์ประทับช้างนำแอร์บัสและเครื่องพ่นเดินเท้าฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อย่านเศรษฐกิจ ป้องกันโควิด-19 ในพื้นที่สีเขียวของจังหวัดพิจิตร สร้างความมั่นใจในการค้าขายขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนในช่วงโควิดระบาดหนัก ขณะที่ยอดผู้ป่วยสะสม จำนวน 50 ราย สั่งคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้าน ที่พบเชื้อกระจาย 


ที่ตลาดผ่าท่าโพ  ตำบลไผ่ท่าโพ  อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง  นายหัฏฐพล  เมฆอาภา  นายอำเภอโพธิ์ประทับช้าง สาธารณะสุขอำเภอ และเทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง ลงพื้นที่นำฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยนำรถแอร์บัสแรงดันสูง ซึ่งเป็นรถที่ใช่ในการเกษตร  และกำลังพลเดินเท้า ลงพื้นที่ฉีดยาฆ่าเชื้อบริเวณตลาดสด ห้างร้านภายในตลาดไผ่ท่าโพ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ในพื้นที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวของจังหวัดพิจิตร ที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในพื้นที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง และสร้างความมั่นใจของประชาชนในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆในพื้นที่ตลาดไผ่ท่าโพเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชนในช่วงโควิดระบาดหนักอยู่ในขณะนี้


สำหรับจังหวัดพิจิตร พบผู้ติดเชื้อ โควิด ในช่วงเดือนเมษายน  แล้ว จำนวน 50  ราย  ซึ่งการติดเชื้อทั้งหมด มาจากประชาชน ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดพิจิตร แล้ว ทำการติดเชื้อ กับ คนภายในครอบครัว  ในช่วงสงกรานต์ ขณะที่ทางจังหวัดพิจิตร และ หน่วยงานโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข เตรียมปูพรม ลงคัดกรอง ผู้กลุ่มเสี่ยง ในตำบลหนองโสน (หนอง- สะ -โน่)  อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หลังพบผู้ติดเชื้อ จำนวน ตำบลเดียว 20 ราย เพื่อลดการแพร่เชื้อ 



วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2564

พิจิตร ปลูกชะอม เดือนละ 30,000.- ปลูกครั้งเดียวเก็บได้ 10ปี

พิจิตรปลูกชะอมครั้งเดียวเก็บได้สิบปี 

เกษตรกรชาวสวน ปลูกชะอม เก็บยอดจำหน่ายได้เงินทุกวัน เพียงปลุกครั้งเดียว สามารถเก็บยอดจำหน่าย ได้ 10 ปี สร้างรายได้ ทุกวันแม้ช่วงนี้ราคาถูก แต่ก็ยังมีรายได้ 

พิจิตรปลูกชะอมครั้งเดียวเก็บได้สิบปี ต้นสวนชะอม ที่ปลูก อาศัยพื้นที่ว่างเปล่า ตามแนวริมคลองข้าวตอก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลัก ซึ่งการปลูก โดยใช้กิ่งตอนของชะอม ลงปลูกบนแปลงดิน ซึ่งมีระยะห่าง 50 เซนติเมตร หลังจากนั้นต้นชะอม จะแตกกิ่งก้านสาขา จนแตกยอด เก็บจำหน่ายได้ 

ลุงทองหล่อ คำเขียน อายุ 77 ปี เกษตรกรชาวสวนชะอม เล่าว่า เดิมเป็นพื้นที่ว่างเปล่า จึงนำเอาต้นชะอม มาปลูก  ซึ่งเป็นพืช ที่ปลูกง่าย และ ไม่ต้องดูแลรักษามาก เพียงปลูกครั้งเดียว สามารถเก็บยอดจำหน่าย ได้ทุกวัน นานเป็น 10 -20 ปี ซึ่งหากต้นชะอม มีขนาดสูง มาก จะทำการตัดแต่งต้น เพื่อให้ แตกยอดใหม่ ยิ่งในช่วงฤดูฝน ต้นชะอม จะแตกยอดได้มาก และ เก็บจำหน่ายได้ครั้งละมากมากด้วย ในส่วนราคา ช่วงนี้ จะถูกลงหน่อย ในราคากำละ 2-3 บาท แต่ละวัน จะมีรายได้ 100-200 บาท  แต่ในช่วงฤดูหนาว จะมีราคาสูงถึง กำละ 15 -20 บาท ซึ่งจะมีรายได้ ถึง 500 -1000 บาท 

สำหรับชะอม เป็นพืช ที่นิยม นำไปทำอาหาร ได้หลากหลายประเภท  หลังจากที่เกษตรกร ตัดยอดแล้ว จะนำกาบกล้วย มามัดรวมเป็นกำ เพื่อส่งต่อจำหน่ายให้กับพ่อค้า แม่ค้า ที่มารับซื้อถึงหน้าสวน ถึงแม้ ช่วงนี้ จะชะอม มีราคาถูก แต่ ก็ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้ ทุกวัน ทดแทนรายได้ จากการทำการเกษตร ในช่วงระหว่างรอการทำนา 


////////////////  

 


วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แจ้งเตือน : ให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชก 7-9 กุมภาพันธ์ นี้



แจ้งเตือนประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัดพิจิตร ให้ระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชก ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2564




พิจิตร: โรงงานพลุระเบิด เสียชีวิต 5 ราย

        พิจิตรเสียชีวิตเพิ่มจากโรงพลุระเบิด พิจิตรเจ้าหน้าที่หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ EOD พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ได้ เข้าตรวจสอบ ในที่เกิดเหตุ ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมเป็น 5 ราย ขณะเจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบหาสาเหตุ เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บ้านเลขที่ 84 หมู่ 3 บ้านหัวทด ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นบ้านร้าง โดยสภาพบ้านที่เกิดเหตุ สภาพังเสียหายทั้งหลัง และบริเวณหลังบ้าน ซึ่งคาดว่าเป็นโรงเรือน สำหรับประกอบพลุ มีรอยหลุมลึก 2-3 หลุม คาดว่าจะเป็นแรงระเบิดที่ทำให้เกิดหลุม และมีปลอกเศษเปลือกลูกบอลสำหรับบรรจุดินปืน ตกกระจายเกลื่อนรอบพื้นที่นอกจากนั้น ยังมีบ้านเรือนประชาชนอีก 6 หลังคาเรือน ที่อยู่ใกล้เสียหายทั้งหลัง อีก1 หลังและบางส่วนรวม 6 หลังคาเรือน มีเศษชิ้นส่วนมนุษย์กระจัดกระจาย รอบพื้นที่รัศมี 200-300 เมตร โดยเหตุการณ์ระเบิด ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 ราย คือ นายศิวกร พรมวิเศษ เจ้าของที่ผลิตพลุ และ คนงาน อีก 3 คน คือ นายสมทรง สุทธิชัง นายเกรียงไกร ท้าวเจริญ และ นายประดิษฐ์ มีคำ และ ล่าสุด มี เด็กชาย อธิวัฒน์ พวงมาลา อายุ 2 ขวบ ที่ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิด ได้ เสียชีวิต ระหว่างเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล รวมเป็น เสียชีวิต 5 ราย ในส่วนผู้สูญหาย รอยู่ระหว่างการติดตามตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ ขณะที่ เจ้าหน้าที่หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ EOD พร้อมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ได้ เข้าตรวจสอบ ในที่เกิดเหตุ เพื่อทำการเก็บซากผู้เสียชีวิต พร้อมทั้งตรวจสอบ วัตถุระเบิด ที่ใช้ ประกอบที่ใช้ประกอบ ในการทำระเบิดไล่สัตว์ จนเกิดเหตุระเบิดขึ้น โดยพบถังบรรจุดินระเบิด ภายในที่เกิดเหตุ โดยมรสภาพ แตกฉีก ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ เก็บทำการตรวจสอบ วัตถุ ที่ใช้ในการทำระเบิด ซึ่งทางเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจะเข้าตรวจสอบสาเหตุ ของการระเบิดในครั้งนี้ต่อไป 

/////////////// 

ล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2556 18.00 น.  ตำรวจเรียกภรรยาเจ้าของโรงงานพลุมาทำการสอบสวน ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ก็เรียกภรรยา โรงงานทำระเบิดไล่สัตว์มาทำการสอบสวน โดยเจ้าของโรงงานจะเข้ามาพบพนักงานสอบสวนไม่เกินวันอาทิตย์นี้ ชิ้นส่วนของร่างการมนุษย์ กว่า 20 ชิ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุพยานที่วันนี้ พลตำรวจตรีสาธิต ก้อนแก้ว ผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6 ได้เรียกชุดดรีมทีม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิสูจน์หลักฐานจากจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตากและ สุโขทัยรวม 6 จังหวัดกว่า 30 นาย มาระดมลงพื้นที่หาวัตถุพยานเพื่อเป็นหลักฐานถึงสาเหตุของโรงงานระเบิดปิงปองระเบิดในครั้งนี้ พร้อมทั้งการเรียกประชุมเพื่อสรุปสถานการณ์โดยพบจุดที่ระเบิดก่อนหลังจำนวน 7 จุด สารประกอบในการทำระเบิดปิงปอง วัตถุพยานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลายสิบรายการ โดยเฉพาะชิ้นส่วนมนุษย์ กว่า 20 ชิ้น ที่จะทำการส่งไปพิสูจน์ DNA ยืนยันอัตลักษณ์บุคคล ในขณะเดียวกันในวันนี้ พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรสากเหล็ก ก็ได้เรียกนางชญาดา ท้าวเจริญ อายุ 42 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 10 ต พันชลี อำเภอวังทอง จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก ซึ่งเป็นภรรยาของนายประเสริฐ พรมวิเศษ อายุ 48 ปี ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานระเบิดปิงปองและรอดตายอย่างหวุดหวิด ซึ่งในช่วงที่เกิดเหตุนายประเสริฐ ไม่ได้อยู่ภายในโรงงาน มาทำการสอบสวน โดยนางชญาดา เปิดเผยว่า นายประเสริฐ ติดต่อมาหาตนเอง และจะเข้ามอบตัวภายในวันอาทิตย์ที่ 7 กพ นี้ ส่วนตัวเองไม่เคยไปที่โรงงานแห่งนี้ ทราบแต่เพียงว่านายประเสริฐ ทำมาประมาณ 1 ปี




 ///////////////////////////////////////////////////

6 กุมภาพันธ์ 2564 พิจิตรเยียวยาเหตุโรงพลุระเบิด 
พิจิตร หลายหน่วยงานเร่งให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากโรงพลุเถื่อนระเบิด คาดเบื้องต้น มีผู้เสียชีวิต 6 ราย  เจ้าของโรงพลุ ยังอยู่ระหว่างติดต่อเข้ามอบตัว  และ ต้องสูบเสีย ลูกชาย และ แม่ จากเหตุระเบิดในครั้งนี้ 
ภาพมุมสูง ที่มองเห็นสภาพ ของ บ้านเลขที่  84 หมู่ 3 บ้านหัวทด ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร  ซึ่งเป็นบ้านร้าง โดยสภาพบ้านที่เกิดเหตุ สภาพพังเสียหายทั้งหลัง และบริเวณหลังบ้าน ซึ่งคาดว่าเป็นโรงเรือน สำหรับประกอบพลุ และบ้านเรือนข้างเคียง จากเหตุระเบิดของโรงประกอบพลุ ลูกบอลไล่สัตว์ ทำให้บ้านเรือนพังเสียหาย ทั้งหลัง จำนวน 4 หลังคาเรือน และ บ้านเรือนบริเวณโดยรอบได้รับผลกระทบอีก 18 หลังคาเรือน 
โดยนายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมเจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อบต หนองหญ้าไทร และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้วางมาตรการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน โดยรอบ ที่เกิดเหตุ โดยมีบ้านเรือนประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 22 ครัวเรือน ซึ่งมีบ้านเรือนเสียหาย ทั้งหลัง จำนวน 4 หลังคาเรือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ จากทางราชการ จำนวน หลังละ 49500 บาท ในส่วนบ้านที่เสียหาย จะทำทำการซ่อมแซม ส่วนที่เสียหาย 
นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ระบุว่า ในส่วนผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์ครั้งมี  เบื้องต้นตามรายงาน  รวม 5  คน  เป็นคนงาน 4 คน และ อีก 1 ราย เป็นเด็กชายวัย 2 ขวบ ที่อยู่ข้างโรงพลุระเบิด และ ผู้สูงอายุ  ที่หายตัวไป คาดว่าจะเสียชีวิต ในโรงประกอบพลุที่ระเบิด เนื่องจาก พบเข็มขัด ของ ผู้สูงอายุ ซึ่งต้องรอพิสูจน์อัตลักษณ์ ต่อไป ในส่วนเจ้าของโรงพลุ เบื้องต้น ได้ติดต่อขอเข้ามอบตัว กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 
สำหรับ เหตุการณ์ระเบิดในครั้งนี้ คาดจะมีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 คน  เป็นคนงาน จำนวน 4 คน คือ นายศิวกร พรมวิเศษ  นายเกรียงไกร ท้าวเจริญ  นายประดิษฐ์  มีคำ  นางสาวสมทรง สุทธิชัง และ  เด็กชาย อธิวัฒน์ พวงมาลา อายุ 2 ขวบ ที่อาศัยข้างบ้านที่เกิดเหตุ ได้รับบาดเจ็บจากแรงระเบิดจนบ้านพังลงมาทับ และ นางจำเนียร พรมวิเศษ  อายุ 82 ปี ที่คาดว่าเสียชีวิต จากการพบเข็มขัดในที่เกิดเหตุ ส่วน นายประเสริฐ พรมวิเศษ เจ้าของโรงพลุที่อยู่ระหว่างติดต่อมอบตัว  ต้องสูญเสีย ลูกชาย คือนายศิวกร พรมวิเศษ  และ มารดา คือนางจำเนียร พรมวิเศษ ที่เสียชีวิต จากเหตุระเบิดในครั้งนี้   ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะนำมาทำการสอบสวนหลังจาก เจ้าของโรงพลุเถื่อนเข้ามามอบตัว  เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 
/////////////

7 กุมภาพันธ์ 2564

พิจิตรสั่งตรวจสอบโรงพลุร้านค้าหวั่นซ้ำรอย 
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ออกคำสั่งให้ทุกอำเภอ ตรวจสอบโรงบรรจุพลุ และ ร้านค้า หวั่นเหตุการณ์ซ้ำรอย ที่พบการสูบเสียชีวิต และ บ้านเรือนประชาชน จากเหตุระเบิดของโรงพลุเถื่อน  
หลังจากที่ เกิดความเสียหาย และ การเสียชีวิต จากเหตุโรงประกอบพลุ ลูกบอลไล่สัตว์ ทำให้บ้านเรือนพังเสียหาย ทั้งหลัง จำนวน 4 หลังคาเรือน และ บ้านเรือนบริเวณโดยรอบได้รับผลกระทบอีก 18 หลังคาเรือน รวมถึง มีการเสียชีวิต ที่คาดว่า มีจำนวน 6 ราย  จากบ้านเลขที่  84หมู่ 3 บ้านหัวทด ตำบลหนองหญ้าไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ที่ลักลอบเปิดโรงบรรจุพลุ จนเกิดการระเบิดขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา   
โดย นายรังสรรค์ ตันเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้ออกหนังสือคำสั่ง ให้ นายอำเภอ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 12 อำเภอของจังหวัดพิจิตร ตรวจสอบพื้นที่ โรงบรรจุพลุ ร้านค้า ร้านจำหน่ายดอกไม้ไฟ ทั้งจังหวัดพิจิตร และ ตรวจสอบโรงบรรจุที่ไม่มีใบอนุญาต หากตรวจสอบแล้ว มีความผิดตามระเบียบ ให้ดำเนินการจับกุม เพื่อไม่เกิดเหตุการณ์ ซ้ำรอย ที่เกิดขึ้น จน ทำให้เกิดการเสียชีวิต และ ความเสียหายของบ้านเรือนประชาชน 
สำหรับจังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2562 เคยเกิดเหตุการณ์ โรงบรรจุพลุ ระเบิด ใน  พื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลดงป่าคำ อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร หลังเกิดระเบิด ทำให้โรงเก็บพลุ ถูกเพลิงไหม้เสียหายทั้งหลัง รวมถึงอุปกรณ์ทำพลุ รถจักรยายนต์ ไหม้เสียหาย  โดยแรงระเบิดของพลุ ทำให้อุปกรณ์ถูกแรงระเบิดเกลื่อนกระจาย  หลังคาที่ทำด้วยสังกะสี ถูกแรงระเบิดของพลุ ปลิวกระจายติดกับกิ่งไม้ โชคดี ระหว่างเกิดระเบิด ไม่มีคนอยู่ในโรงเก็บ จึงไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 

////////////

   


วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ร้านค้าคนละครึ่ง : ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการ



พร้อมให้บริการ ธนาคารกรุงไทยเขตพิจิตร ร่วมกับสำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร พร้อมให้บริการรับสมัครร้านค้าที่ประสงค์เข้าโครงการ เราชนะ ณ สำนักงานคลังจังหวัดพิจิตร ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร เฉพาะวันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 และวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น. โดยขอให้ร้านค้าจัดเตรียมเอกสารก่อนมาสมัคร ดังนี้
1. แบบฟอร์มใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งได้มีการรับรองเอกสารโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยที่ได้รับมอบหมาย (โดยผู้สมัครสามารถติดต่อขอรับเอกสารได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาในเขตพื้นที่จังหวัด) ทุกสาขาในเขตพื้นที่
2. บัตรประชาชนผู้สมัครตัวจริงเท่านั้น
3. โทรศัพท์สมาร์ทโฟน
4. บัญชีธนาคารกรุงไทยเท่านั้นของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ กรณีมีข้อสอบถามกรุณาติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 056-611125 กด 0


วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พิจิตร : สถานีรถไฟพิจิตร ผ่อนปรนมาตรการเฝ้าระวัง โควิด 19





พิจิตร : เหมืองทองคำพิจิตร 2 ฝั่งยังเห็นต่างหากรัฐบาลให้เปิดเหมืองทอง



หลังจากที่มีกระแสเรื่องของการเปิดเหมืองแร่ทองคำ อัครไมนิ่ง ในพื้นที่รอยต่อจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ชาวบ้านทั้ง 2 ฝั่งยังเห็นต่าง ที่ต่างมีเหตุผล ทั้งด้านสุขภาพและปัญหาการเงิน


หลังจากที่เกิดกระแสข่าว จะมีการเปิดเหมืองแร่ทองคำ ของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด  ซึ่งอยู่พื้นที่รอยต่าระหว่าง จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดเพชรบูรณ์  ชาวบ้าน ทั้ง 2 ฟากฝั่งยังเกิดความเห็นต่างกันออกไป  ในขณะที่บริเวณ ทางเข้า บริษัท อัคราไมนิ่ง ซึ่งเป็นส่วนของสำนักงาน ยังคงมีพนักงานบางส่วน ยังคงเดินทางเข้าออกภายใน แต่ในส่วนของเหมือง ไม่มีรถบรรทุกแร่  วิ่งแต่อย่างใด


โดยนายวรากร จำนงค์นาก อดีตกำนัน ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เปิดเผยว่า ในส่วนของชาวบ้านก็อยากให้เหมืองทองเปิดทำการเนื่องจากชาวบ้านจะได้มีรายได้ เพราะตอนนี้ ชาวบ้านต้องไปขายแรงงานที่กรุงเทพ แต่ก็ต้องกลับมาอีก เพราะโรคโควิด-19 ระบาด บางแห่งโรงงานก็ปิด ตนจึงอยากให้เหมืองทองเปิดอีกครั้ง ครอบครัวจะได้อยู่ด้วยกัน


ส่วนเรื่องสารพิษตั้งแต่ตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านเมื่อปี 2537 จนถึงเป็นกำนัน ตนเองยืนยันว่าไม่มีสารพิษแน่นอน  แต่ไม่รู้ว่าไปเอาน้ำที่ไหนมาตรวจ เรื่องของการคัดค้านนี้เกิดขึ้นเพราะชาวบ้านขายที่ไม่ได้เพราะขายราคาแพงเกินไป


ในขณะที่ทางด้าน นางสาวสื่อกัญญา ธีระชาติดำรงค์ อายุ 40 ปี  อยู่บ้านเลขที่ 209 หมู่ 9 ต เขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร เปิดเผบว่า หลังจากที่ทราบข่าว ชาวบ้านก็ไม่อยากให้เปิด เพราะชาวบ้านได้รับประสบการโดยตรงจากการเปิดเหมืองเมื่อครั้งที่ผ่านมา ทีค่ส่งปัญหาของสุขภาพชาวบ้าน และอยากให้รัฐบาลไปดูประวัติที่ผ่านมา ถึงกระบวนการดูแลประชาชน การป้องกันสารพิษรั่วไหล ออกมาจากเหมือง ซึ่งมีผลตรวจที่ค่อนข้าง ชัดเจน และกระบวนการแก้ปัญหาก็ยังไม่สามารถทำได้ กระบวนการดูแลสุขภาพประชาชนก็ยังไม่ดีพอ ชาวบ้านจึงยังไม่อยากให้รัฐบาลเปิดเหมืองแร่ จนกว่า จะมีการแก้ไขปัญหาให้หมดไปเสียก่อน


//////////////////////////////////////////////////////////